วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PA715(ต่อ 1 ) การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย

ความหมายของการประเมินนโยบาย
การประเมินนโยบาย คือ ขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการนโยบาย ซึ่งจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย หรือ ผลการดำเนินการตามนโยบายว่า ตอบสนองความต้องการ หรือ มีคุณค่าหรือไม่เพียงใด
l  Andersons กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการณ์ การเปรียบเทียบผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมทีกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
l  Dye กล่าวว่า การประเมินนโยบาย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายสาธารณะ
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ
l  โดยปกติ นโยบาย แผนงาน และโครงการจะมีความสัมพันธ์กัน 3 ลักษณะคือ
                -  ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้าง
                -  ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์และผลงาน และ
                -  ความสัมพันธ์ด้านบริหาร
l  ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้าง
     -  นโยบายใดจะสามารถปฏิบัติได้ จำเป็นต้องมีแผนงานและโครงการเป็นตัวรองรับ  ตัวแผนงานจะเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับการนำไปปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และ เมื่อมีแผนงานก็ต้องมีกิจกรรมและการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ซึ่งส่วนมากต้องอาศัย งบประมาณ กำลังคน และเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ นโยบายที่ดีต้องมีแผนงานและโครงการที่สอดรับกันรองรับ  นโยบายจึงจะบรรลุเป้าหมายและเกิดเป็นผลงานที่ชัดเจน 
l  ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์และผลงาน
  - ตามปกติเมื่อนโยบายถูกแปลงเป็นแผนงานและโครงการ จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รองในแต่ละแผนงาน และโครงการด้วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีทิศทางของการปฏิบัติตามนโยบายที่ชัดเจน สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุประสงค์ทั้งระดับแผนงานและโครงการต้องมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
l  ความสัมพันธ์ด้านการบริหาร
   - นโยบายจะบรรลุผล ต้องมีกระบวนการบริหารแผนงานและโครงการที่ดี ปรากฏในรูปของการวางระบบงานที่ชัดเจน จัดเตรียมบุคลากรให้เหมาะสม ดูความสอดคล้องของเวลาที่มีและปริมาณแผนงาน/โครงการที่ต้องดำเนินการ รวมตลอดจนการจัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการดำเนินการตามแผนด้วย
ความจำเป็นที่ต้องประเมินนโยบาย
l  เพื่อให้ทราบว่า แผนงาน มาตรการและโครงการสอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่
l  เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่องค์กรทำเกิดผลที่ต้องการ
l  เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ (ผลลัพธ์)
l  เพื่อประมวลบทเรียนที่ดีที่เกิดขึ้นกับการดำเนินการตามนโยบาย
l  เพื่อนำจุดบกพร่องกลับมาแก้ไขในขณะที่ดำเนินนโยบายได้ทันท่วงที
l  เพื่อพัฒนานโยบายใหม่ให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่มากขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประเมินนโยบาย
ด้านผู้ประเมิน
l  ผู้ประเมินขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ประเมิน
l  ผู้ประเมินขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ถูกต้อง
l  ผู้ประเมินวิเคราะห์ขอบเขต กรอบแนวคิด และตัวชี้วัดในการประเมินบกพร่อง
l  ผู้ประเมินออกแบบกระบวนการในการประเมินบกพร่อง
l  ผู้ประเมินขาดทักษะในการวิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูล
l  ผู้ประเมินเลือกใช้ข้อมูลในการรายงานผลโดยมีอคติ
การแทรกแซงทางการเมือง
l  การเมืองแทรกแซงการประเมิน เมื่อมีการคาดการณ์ว่าการประเมินจะทำให้เสียดุลของอำนาจทางการเมือง
l  การแทรกแซงทางการเมืองมักทำให้เกิด การประเมินเทียม (Pseudo-evaluation)  เป็นการประเมินเพื่อสร้างภาพ หรือการประเมินเพื่อบิดเบือนข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายการเมือง
l  พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
   - เลือกมอง (eye-wash)  เลือกเฉพาะโครงการที่ประสบความสำเร็จ
   - สร้างม่านบังตา (white-wash) ปกปิดความล้มเหลวโดยหลีกเลี่ยงการประเมินอย่างตรงไปตรงมา มีการใช้ข้อมูลที่ผิวเผิน หรือ เลือกใช้นักประเมินที่ขาดความชำนาญ
l  พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
   - เลือกมอง (eye-wash)  เลือกเฉพาะโครงการที่ประสบความสำเร็จ
   - สร้างม่านบังตา (white-wash) ปกปิดความล้มเหลวโดยหลีกเลี่ยงการประเมินอย่างตรงไปตรงมา มีการใช้ข้อมูลที่ผิวเผิน หรือ เลือกใช้นักประเมินที่ขาดความชำนาญ
l  พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
   -  ดำน้ำหนี (Submarine) ล้มเลิกโครงการก่อนจะมีคนมาพบข้อผิดพลาด
   -  จัดฉาก (Posture) สร้างความรู้สึกและภาพพจน์ว่าได้มีการประเมินแล้ว แต่กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลการประเมินไม่ถูกต้อง เช่น เลือกจ้างนักประเมินขาดประสบการณ์  เอานักประเมินที่เป็นพวกพ้อง หรือ แทรกแซงให้ประเมินคู่แข่งให้ต่ำกว่าความเป็นจริง
l  พฤติกรรมการแทรกแซงทางการเมืองเกี่ยวกับการประเมิน
   -  ถ่วงเวลา (Postponement) สร้างเงื่อนไขในการเตะถ่วงการประเมินให้ล่าช้าเรื่อย ๆ จนคนทั่วไปหมดความสนใจของผลการประเมิน
   -  เปลี่ยนจุด (Substitution) พยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากส่วนสำคัญของโครงการไปสู่ส่วนย่อยที่ประสบความสำเร็จ
ปัจจัยอื่น ๆ
l  ระยะเวลาการประเมินไม่เหมาะสม
l  งบประมาณที่ใช้ในการประเมินไม่เหมาะสม
l  ทัศนคติของผู้บริหารระดับสูงในระดับปฏิบัติการต่อการประเมิน
l  ค่านิยมของหน่วยงานที่มีต่อการประเมิน
l  วัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น