จากคำถามที่ว่า จะเลือกอยู่ในสังคมแบบใด ? ระหว่างเสรีนิยมที่จัดเก็บภาษีน้อยแต่ต้องดูแลตัวเอง กับสังคมนิยมรัฐสวัสดิการ ที่จัดเก็บภาษีมากแต่รัฐช่วยดูแล ดังนั้นจึงได้ทำการเปรียบเทียบวิธีการเก็บภาษีระหว่าง 2 แนวคิดดังกล่าวคือ แนวเสรีนิยม และแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย (หรือแนวรัฐสวัสดิการ) และยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเป็นการสนับสนุนคำตอบ ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
ความหมายของภาษีอากร
1. สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎรและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิงตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร
2. เงินได้หรือทรัพยากรทีเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมเงินหรือการขายสินค้า
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
1. เป็นรายได้ของรัฐบาลเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
2. เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจ่ายรายได้
3. ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า
4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
5. ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1. มีความเป็นธรรม
2. มีความแน่นอน ชัดเจน
3. มีความสะดวก
4. มีประสิทธิภาพและประหยัด
5. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
6. อำนวยรายได้
7. มีความยืดหยุ่น
ระบบการเก็บภาษี เป็นแนวทางหนึ่งที่มนุษย์ออกแบบมา เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ภาษีสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นทางสังคมได้ นอกจากนี้รายได้จากภาษียังสามารถนำมาสร้างประโยชน์สาธารณะได้ในหลายประการ ในรูปแบบของสวัสดิการสังคมต่างๆ แต่ทั้งนี้สังคมแต่ละแห่งก็มีโครงสร้างภาษีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับแนวคิดที่แต่ละสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการเก็บภาษี
การเก็บภาษีของ 2 แนวคิด
เนื่องจากวิธีการเก็บภาษีของแนวคิดต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับท่าทีที่มีต่อระบบสวัสดิการด้วย เช่น ถ้ารัฐใดให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการสูง การเก็บภาษีเงินได้ก็จะมีสูงตามไปด้วย ขณะที่ถ้าเป็นรัฐที่ไม่ให้ความสำคัญกับระบบสวัสดิการมากนัก การเก็บภาษีเงินได้ก็จะมีความเข้มงวดน้อยกว่ารัฐที่เน้นสวัสดิการ ด้วยเหตุนี้ในการพิจารณาท่าทีของแนวคิดต่างๆที่มีต่อการเก็บภาษี เราจึงควรพิจารณาจากมุมมอง หรือท่าทีของแนวคิดนั้นๆที่มีต่อระบบสวัสดิการด้วยนั่นเอง
แนวคิดเสรีนิยมที่มีต่อระบบสวัสดิการ แนวคิดหลักของแนวเสรีนิยมนั้นเน้นที่ความเป็นปัจเจกบุคคลเป็นหลัก และมีฐานคติว่าคนนั้นมีความสามารถ มีสิทธิในการแสวงหา และครอบครองทรัพย์สิน/ผลประโยชน์จากการทำงานของแต่ละคน และจุดเน้นสำคัญของแนวเสรีนิยมก็คือ การให้ความสำคัญกับตลาดเสรี โดยเชื่อว่าระบบตลาดนั้น จะสามารถทำการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้กับบุคคลได้เป็นอย่างดี โดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง
ดังที่ได้กล่าวไปว่า แนวเสรีนิยมนั้นให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกบุคคล และตลาดเสรี ดังนั้นท่าทีที่แนวเสรีนิยมจะมีต่อระบบสวัสดิการก็คือ รัฐนั้นไม่จำเป็นต้องจัดสวัสดิการให้กับบุคคล เพราะว่าบุคคลแต่ละคนนั้นมีสิทธิในการแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างดีอยู่แล้วนั่นเอง
รัฐที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในการบริหารระบบเศรษฐกิจจึงมีท่าทีต่อการเก็บภาษี โดยเฉพาะภาษีเงินได้ในลักษณะที่ไม่เข้มงวดมากนัก และเห็นว่าควรจะเก็บภาษีให้น้อยลง เพื่อให้เกิดผลกำไรของปัจเจกบุคคลได้อย่างสูงที่สุดนั่นเอง
แนวสังคมนิยมประชาธิปไตย (แนวรัฐสวัสดิการ)แนวรัฐสวัสดิการนั้นให้ความสำคัญกับรัฐมากกว่าแนวเสรีนิยม โดยมองว่าแม้รัฐจะใช้กลไกตลาดในการบริหารระบบเศรษฐกิจ แต่รัฐก็ยังมีความสำคัญ และควรมีบทบาทในการเข้าแทรกแซง เพื่อทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้น้อยลง โดยวิธีการที่รัฐจัดให้มีสวัสดิการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน และทั่วถึงครอบคลุมสวัสดิการในด้านต่างๆ เช่น การมีงานทำ, การมีที่อยู่อาศัย, การรักษาพยาบาล, การจัดการศึกษา ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป ข้าพเจ้าจะเลือกอยู่ในสังคมรัฐสวัสดิการ เพราะว่า บทบาทรัฐในการจัดสวัสดิการเพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้คนในสังคม เป็นหลัก ดังนั้น ถึงแม้ของแนวรัฐสวัสดิการที่มีต่อการเก็บภาษีจึงเป็นลักษณะที่มีความเข้มงวดมาก โดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า ซึ่งก็เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน อีกทั้งยังนำรายได้จากภาษีมาจัดสวัสดิการให้กับคนทุกคนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น