วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประเมินผลนโยบายสาธารณะ(PA715)

สรุปการประเมินผลนโยบายสาธารณะ(PA715)
ความจำเป็นที่ต้องมีการประเมินนโยบาย
1. เพื่อให้ทราบว่า แผนงานมาตรการและโครงการสอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่
2. เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่องค์กรทำเกิดผลที่ต้องการ
3. เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ (ผลลัพธ์)
4. เพื่อประมวลบทเรียนที่ดีที่เกิดขึ้นกับการดำเนินการตามนโยบาย
5. เพื่อนำจุดบกพร่องกลับมาแก้ไขในขณะที่ดำเนินนโยบายได้ทันท่วงที
6. เพื่อพัฒนานโยบายใหม่ให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ที่มากขึ้น
ลักษณะของการประเมิน(อุดมคติ)
1. มีลักษณะเป็นสหวิชา/สหวิทยากร
2. การประเมินต้องเป็นที่ยอมรับทั้งตัวผู้ประเมินและผู้มีอำนาจตัดสินใจ
3. ต้องมีการนำยุทธวิธีต่างๆ มาผสมผสานได้อย่างเหมาะสม
4. จะต้องทำอย่างเป็นทางการให้มากที่สุด เพื่อความน่าเชื่อถือ
5. การรวบรวมข้อมูลควรเน้นการติดต่อบุคคลภายในมากกว่าหน่วยงานต่อหน่วยงาน
6. ต้องยืดหยุ่นพอที่จะรับได้ทั้งระเบียบวิจัยแบบปริมาณและคุณภาพ
เกณฑ์การประเมินนโยบายสาธารณะ
1. ประสิทธิภาพ(effectiveness)
2. ประสิทธิผล(efficiency)
3. ความพอเพียง(adequacy)
4. ความเป็นธรรม(equity)
5. ความสามารถในการตอบสนอง(responsiveness)
6. ความเหมาะสม(appropiation)
แนวทางในการประเมิน
1. การประเมินผลแบบเทียม(Pseudo-evaluation)
1.1 การทำบัญชีทางสังคม(Social Systems Accounting)
1.2 การทดลองทางสังคม(Social Experimentation)
1.3 การตรวจสอบทางสังคม(Social Auditing
1.4 การวิจัยสะสมทางสังคม(Social Research Accomulation)
2. การประเมินผลแบบเป็นทางการ(Formal evaluation)
2.1 การประเมินพัฒนาการ(Developmental Evaluation)
2.2 การประเมินกระบวนการย้อนกลับ(Retrospective Process Evaluation)
2.3 การประเมินผลแบบทดลอง(Experimental Evaluation)
2.4 การประเมินผลย้อนหลัง(Retrospective Outcome Evaluation)
3. การประเมินผลเชิงตัดสินใจ(Decision-theretic Evaluation)
3.1 ประเมินคุณสมบัติที่ประเมินได้(Evaluability Assessment)
3.2 การวิเคราะห์อรรถประโยชน์หลายคุณสมัติ(Mutiattribute Utility Analysis)
กระบวนการประเมิน
1. กำหนดรายละเอียดของการประเมิน
2. กำหนดวิธีการวัดผล โดยหากมีหลักเกณฑ์มากเพียงไร ย่อมได้ผลที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ ได้มากขึ้น
3. การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงประ มาณที่มีความแน่นอนสูงแต่ขาดรายละเอีดยหรือไม่ครอบคลุม เชิงคุณภา พสามารถให้รายละเอียดมากกว่าแต่ยากในการวิเคราะห์และต้องอาศัยเวลามาก
ปัญหาในการประเมิน
1. ความไม่ชัดเจนของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย
2. ปัญหาจากตัวบุคคลที่ทำการประเมินผลนโยบายสาธารณะ
2.1 ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องที่ประเมิน
2.2 ขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายสาธารณะ
2.3 ประเมินขอบเขต กรอบแนวคิดและตัวชี้วัดในการประเมินที่บกพร่อง
3. ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.1 เรื่องข้อมูลข่าวสาร
3.2 การใช้เทคนิคในการประเมิน
3.3 ลักษณะของตัวนโยบาย
3.4 ทรพัยากร/ระยะเวลาในการประเมิน
3.5 การแทรกแซงทางการเมือง
การปรับปรุงนโยบายสาธาณะ(Policy Adjustment) การเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ(Policy Reconstruction) การยุตินโยบายสาธารณะ (Policy Termination )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น