วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การบรรยายสรุป ของ อ.พิพัฒน์ (pa704)

หลักการกำหนดนโยบาย
Ø ต้องให้คนนึกถึงสิ่งที่เราจะกำหนด โดยสอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียน ประเพณี
โครงสร้างเป้าหมายของการเรียนรู้ นโยบายสาธารณะ
1.          Define (คำนิยาม) ต้องรู้  การเมือง , สังคม , เศรษฐกิจ , เทคโนโลยี่ ที่ใช้
2.          Analyze (วิเคราะห์) คือ  การพิจารณา  จำแนกแจกแจง แยกแยะ ให้ได้
3.          Discuss (การถกเถียง) คือ การโต้แย้ง กับตัวเอง  หรือไม่
4.          Investigate (การสืบเสาะ) คือ การค้นหาความจริง
5.          Consider (สามารถพิจารณา)
6.          Compare Contrast (เปรียบเทียบและทำนายได้)
Why Study : เป้าหมายเพื่อศึกษาทุนมนุษย์ Human Capital
1.               มีความรู้ขั้นต่ำเพื่ออยู่ในสังคมได้และหาความรู้เพิ่ม
2.               มีวิชาชีพเพื่อหาเลี้ยงชีพได้
3.               มีความสนใจแสวงหาความรู้ สามารถเรียนรู้
4.               พัฒนาประสิทธิภาพการใช้สติปัญญาและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง
5.               รู้จักวิจารณ์ , รู้จักตนเอง , ให้มีประโยชน์ต่อ......
6.               สัมผัสและลิ้มรสทางวัฒนธรรมและจริยธรรม เป็นผลสำคัญของมนุษยชาติ
หลักการวิเคราะห์
1.               พิจารณาเรื่องนั้นใช้รูปแบบใด
2.               แยกเนื้อหาเรื่องนั้นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
3.               แยกพิจารณาให้ละเอียดว่าเนื้อหาประกอบด้วยอะไร
4.               พิจารณาใช้กลวิธีในการนำเสนอเรื่องอย่างไร
วิธีการวิเคราะห์   ต้องลำดับเหตุการณ์ ตามเหตุผล  คือ
Ø จากเหตุไปหาผล หรือ จากผลไปหาเหตุ
Ø เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหลัง หรือ หลังก่อน
Ø จากสำคัญมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก
Ø สิ่งที่ไกลตัวไปหาใกล้ตัว หรือสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาไกลตัว
Ø จากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย
Ø จากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน
Ø ฯลฯ
พระพุทธเจ้าใช้หลัก  “ศึกษา  วิเคราะห์  วิจัย”
องค์ความรู้(body of knowledge) หมายถึงความรู้ที่อยู่ในศาสตร์ ได้แก่ ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ ที่อยู่ในตำรา อยู่ในห้องสมุด ซึ่งอยู่ภายนอกตัวบุคคล ที่สั่งสมกันมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ โครงสร้างความรู้ หมายถึง ความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งไม่ได้ลอกเลียนมาจากองค์ความรู้ แต่ผู้เรียนต้องสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อพัฒนาโครงสร้างความรู้ต่อไปก็สามารถสร้างผลงานเป็นองค์ความรู้ให้คนอื่นค้นคว้าได้
องค์ความรู้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้
ลักษณะสำคัญขององค์ความรู้กับองค์กร
1.           มีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม
2.           มักเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลมักจะติดบุคคลไปมากกว่าจะตกอยู่ที่องค์กร
3.           ถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่ทรงคุณค่าขององค์กรช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยแหล่งกำเนิดขององค์ความรู้
1.               ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลอื่น
2.               ความรู้เกิดจากประสบการณ์การทำงาน
3.               ความรู้ที่ได้จากการวิจัยทดลอง
4.               ความรู้จากการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ
5.               ความรู้ที่มีปรากฏอยู่ในแหล่งความรู้ภายนอกองค์กรและองค์กรได้นำมาใช้
ประเภทขององค์ความรู้  แบ่งได้ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.               องค์ความรู้ที่สามารถอธิบายได้เป็นองค์ความรู้ซึ่งทำความเข้าใจได้จากการฟัง การอธิบาย การอ่าน และนำไปใช้ปฏิบัติ โดยจัดไว้อย่างมีแบบแผนมีโครงสร้างและอธิบายกระบวนการวิธี ขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้ได้
2.               องค์ความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้หรืออธิบายได้ยาก เป็นองค์ความรู้ที่อธิบายได้ยากหรือในบางครั้งไม่สามารถอธิบายว่าเกิดความรู้ เหล่านั้นได้อย่างไร ไม่มีแบบแผน โครงสร้างแน่ชัด มักเกิดขึ้นกับตัวบุคคล ผลของการถ่ายทอดขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายทอดและผู้รับเป็นสำคัญ
การจัดการองค์ความรู้
การจัดการองค์ความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1.               ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้งจึงเรียกว่า เป็นความรู้แบบนามธรรม
2.               ความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎีคู่มือต่างๆและบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
เครื่องมือในการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลักๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้าย คือ การเรียนรู้และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรเครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้
การบูรณาการ  คือ  การนำเอาศาสตร์ต่างๆ มาสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ให้กลมกลืนเป็นเมื้อเดียวกัน  จนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง  เพื่อนนำเอามาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติการหรือจัดการ
นโยบายแต่นโยบาย  จะต้องมีศาสตร์วิชาความรู้มาประกอบอย่างน้อย  2 ศาสตร์ขึ้นไป
1.                ศาสตร์ที่ว่าด้วยเนื้อหานโยบาย เช่น การสาธารณสุข การศึกษา  การเกษตร ฯลฯ
2.                ศาสตร์ว่าด้วยนโยบายของตัวเอง
รัฐประศาสนศาสตร์  ประกอบด้วย
1.               รัฐ
2.               ประศาสน์
3.               ศาสตร์
รัฐในสมัยโบราณ  ตามแนวคิด คัมภีร์  อรรถศาสตร์
รัฐประกอบด้วย
1.           กษัตริย์
2.           ข้าเฝ้าแผ่นดิน
3.           ดินแดนที่มีผู้คน
4.           ป้อมปราการ
5.           คลังสมบัติ
6.           กองทัพ
7.           พันธมิตร(การต่างประเทศ)

ตำราพระพิไชยเสนา  
ข้อที่ 9 สำหรับผู้เป็นเสนาบดีพึงให้รู้ถึงลักษณะองรวมของพระนคร  4 ประการคือ จักษุ พุง ไส้ และเอ็น
1.           จักษุ  คือ  บัณฑิต ปราชญ์ โหราจารย์  (ผู้มีวิสัยทัศน์)
2.           พุง  คือ พ่อค้าพาณิชย์ ประกอบกิจการค้าขายในพระนคร (
3.           ไส้  คือ นรเศรษฐีผู้มีทรัพย์สำหรับพระนครจะได้เจริญ
4.           เอ็น คือ มุขมนตรี มาตยาธิบดี พิริยะธาทวยทหารรักษาพระนครให้เจริญ
(ทุกส่วนเปรียบเสมือนร่างกายของกษัตริย์)
ดังนั้น
ความแตกต่างระหว่าง รัฐ  ชาติ   และประเทศ
·         รัฐ           เน้น         การเมือง
·         ชาติ         เน้น         เผ่าพันธุ์
·         ประเทศ เน้น         ภูมิศาสตร์
ความหมายของรัฐ  (ชัยอนันต์  สมุทวาณิช  กล่าวถึงความหมายของรัฐตามทัศนะของ  “เบนจมิน” )
·         รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล (The state as government)
·         รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการ (The state as public bureaucracy)
·         รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง (The state as ruling class)
·         รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์ (The state as normative order
วัตถุประสงค์และหน้าที่ของรัฐ
·      สร้างความสงบเรียบร้อย ความเป็นระเบียบ
·      การให้สวัสดิการหลักประกัน
·      การสร้างและเพิ่มพูนศีลธรรม
·      สร้างความเจริญและความมั่นคง

กิจกรรมที่ รป.ศ. ต้องทำโดยสังเขป
·      การป้องกัน
·      การช่วยเหลือ
·      การออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์
·      การให้บริการโดยตรง

รัฐ
วัตถุประสงค์และหน้าที่ของรัฐ
กิจกรรมที่ รป.ศ.
· รัฐในฐานะที่เป็นรัฐบาล (The state as government)
· สร้างความสงบเรียบร้อย ความเป็นระเบียบ
·      การป้องกัน
· รัฐในฐานะที่เป็นระบบราชการ (The state as public bureaucracy)
· การให้สวัสดิการหลักประกัน
·      การช่วยเหลือ
· รัฐในฐานะที่เป็นชนชั้นปกครอง (The state as ruling class)
· การสร้างและเพิ่มพูนศีลธรรม
·      การออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์

· รัฐในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางอุดมการณ์ (The state as normative order )
· สร้างความเจริญและความมั่นคง
·      การให้บริการโดยตรง

กรอบการศึกษา วิชา รัฐประศาสนศาสตร์ (กรอบความคิดในวิชารัฐประศาสนศาสตร์)

·         ศึกษาอะไร
·         แตกกระจายเนื้อหาเป็นอะไรบ้าง
·         ศาสตร์ข้างเคียงที่ถูกนำมาช่วย
·         ความพยายามที่จะแสวงหาความชัดเจน
เรียน รปศ. เพื่อ
·         ศึกษาปัญหาสาธารณะ
·         ทำความเข้าใจแนวคิด/วิธีแก้ไขในอดีตที่อาจใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผลในปัจจุบัน
·         เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริหารและดำเนินการ
·         การเปลี่ยนแปลง และความต้องการการเปลี่ยนแปลง
·         การก่อเกิดจิตสำนึกใหม่ ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น