วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PA715(ต่อ 2 ) การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย

วงจรโครงการ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมโครงการ
          การจัดทำโครงการจะสำเร็จผลได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จะต้องเริ่มจากการจัดเตรียมโครงการให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินขั้นตอนอื่นได้ต่อไป การจัดเตรียมโครงการที่ดีจะทำให้เกิดความชัดเจนและส่งผลให้เกิดโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้น โดยการจัดเตรียมโครงการเป็นการศึกษาถึงที่มาของโครงการโดยแยกออกเป็น 2 ประเด็น
1.      ปัญหา – เป็นการจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆทั้งในปัจจุบัน และปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีการจัดทำโครงการต่างๆขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
ประเภทของปัญหา  มี 3 ประเภท
          1.ปัญหาป้องกัน จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัจจุบันยังไม่ชัดเจน มีแต่อาการ ปัญหาจะเกิดขึ้นตามสถานการณ์ของแต่ละที่หรือบริบท

2.ปัญหาขัดข้อง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากอดีต มาจนถึงอนาคตและมีผลส่งไปจนถึงอนาคต
ความต้องการ

          3.ปัญหาเรื้อรัง เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ มีการยอมรับเป็นเรื่องธรรมดา เช่นปัญหาจราจร

2.      ความต้องการ – เป็นกรจัดทำโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน โดยโครงการจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ หรือวิสัยทัศน์ของหน่วยงานเพื่อให้หน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ
โดยเมื่อทราบถึงที่มา หรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดทำโครงการแล้ว การเตรียมการในลำดับต่อไปคือการทำโครงการให้เป็นลายลักษณ์อักษร คือการเขียนโครงการ มีลักษณะดังนี้
การเขียนโครงการ – เป็นวิธีการบรรยายหรือแจกแจงรายละเอียดของโครงการตามองค์ประกอบ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.      ชื่อแผนงาน/ โครงการ
2.      ที่มาของโครงการ
3.      วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการ
4.      ขอบเขตการดำเนินงาน
5.      แผนปฏิบัติการ
6.      ระยะเวลาดำเนินการ
7.      ผู้รับผิดชอบโครงการ
8.      งบประมาณ
9.      ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์โครงการ
          ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการภายใต้เงื่อนไงต่างๆ ที่ต้องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยต้องการเพื่อตัดสินใจเลือกดำเนินการ เป็นการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ เช่น ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การวิเคราะห์โครงการนั้น ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ดังนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาดำเนินการร่วมกัน เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้และการจัดทำรายละเอียดของโรงการอย่างสมบูรณ์ โดยการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินโรงการนั้น จะเน้นใน 2 ประเด็นสำคัญดังนี้
1.      การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน – เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในด้าน อุปสงค์หรือด้านตลาด, ด้านเทคนิค, ด้านการเงิน และด้านการบริหาร
2.      การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก – เป็นการวิเคราะห์ในด้านเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง และด้านสิ่งแวดล้อม
โดยแต่ละด้านนั้น มีรายละเอียดดังนี้
การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
1.      ด้านอุปสงค์หรือด้านตลาด – วิเคราะห์และคาดหมายความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำโครงการ เพื่อให้โครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เพราะโครงการนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
2.      ด้านเทคนิค – เป็นการวิเคราะห์ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการว่า จะใช้ทรัพยากรอย่างไรและขั้นตอนอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดต่อไป
3.      ด้านการเงิน – ตรวจสอบว่าโครงการนั้นจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ ในส่วนของผลที่จะได้รับ และรายจ่ายที่จ่ายไป
4.      ด้านการบริหาร – พิจารณาถึงความสามารถและสมรรถนะของหน่วยงานที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการนั้น ว่าเหมาะสมหรือไม่ เช่นการใช้ตัวแบบ 7’s มาใช้ในการวิเคราะห์ด้านต่างๆเป็นต้น
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
1.      ด้านเศรษฐกิจ – วิเคราะห์ถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าเป็นเช่นไร เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการหรือไม่
2.      ด้านสังคม – ศึกษาถึง ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม สถาบันทางสังคม ว่าโครงการที่จะดำเนินการจัดขึ้นนั้น มีความเหมาะสมกับสภาวะทางสังคมต่างๆหรือไม่อย่างไร
3.      ด้านการเมือง – วิเคราะห์ถึงกลุ่มผลประโยชน์ นโยบายรัฐ กฎหมาย ว่าจะส่งผลเช่นไรต่อโครงการบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินโครงการมีความราบรื่น
4.      ด้านสิ่งแวดล้อม – วิเคราะห์ว่าการดำเนินโครงการนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการ
          ขั้นตอนในการดำเนินการนั้นมีรายละเอียดที่สำคัญอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1.      การจัดโครงสร้างองค์กร
2.      การจัดการทรัพยากรมนุษย์
3.      การอำนวยการโครงการ
4.      การควบคุมโครงการ
5.      เทคนิคการควบคุมโครงการ
โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.                  การจัดโครงสร้างองค์กร – การจัดการโครงการ ต้องมีการจัดโครงสร้างองค์การเพื่อให้เกิดระเบียบในการบริหารงานและการทำงานของกลุ่มคน และเป็นการกำหนดรูปแบบของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารโครงการต่อไป
2.        การจัดการทรัพยากรมนุษย์ – การจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นการบริหาร คน ในทุกๆด้าน ทั้งในด้านการสรรหาและคัดเลือกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานดำเนินโครงการ ด้านการพัฒนา คน ให้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับการดำเนินโครงการ เป็นต้น
3.                  การอำนวยการโครงการ – เป็นการประสานทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารโครงการจะต้องชักจูงและชี้แนวทางให้บุคลากรในโครงการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4.        การควบคุมโครงการ – การควบคุมโครงการนั้น เป็นเรื่องของการดำเนินการให้เกิดการกระทำที่เป็นไปตามแผน หลักการ และคำสั่งที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการนั่นเอง
5.        เทคนิคการควบคุมโครงการ – เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยในการควบคุมโครงการ เช่น แผนภูมิแกรนท์, แผนภูมิไมล์สโตน และเทคนิคการวิเคราะห์ข่ายงาน(PERT) เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลโครงการ

               เป็นกระบวนการในการวัดผลสัมฤทธิ์ และเก็บรวบรวมข้อมูลว่า การดำเนินโครงการทั้งหมดที่ได้ดำเนินการไปนั้น บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ มีสิ่งใดที่ต้องดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนา เพื่อให้การดำเนินโรงการในครั้งนี้และครั้งต่อไปประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น
                   เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการตรวจวัดและวิเคราะห์เทคนิค กระบวนการ และผลการปฏิบัติงานโดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น