ข้อ 2 ขอให้ผู้ศึกษาวิชา PA 704 การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ทำการศึกษา บทความจากเอกสารPA 704 (อ.สมิทธ ธรรมสโรช )ที่ได้ให้ศึกษาค้นคว้า โดยละเอียดและทำการพิจารณาว่า เหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นดังกล่าว ได้บ่งบอกถึง “การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ” ตามหลักวิชาที่ท่านได้ศึกษามาไว้อย่างไรบ้าง ให้ทำการพิจารณาให้ละเอียดที่สุด
การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เหตุการณ์สึนามิ
17 ก.ค. 2541 เกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งปาปัวนิกินี ส่งผลให้เกิดสึนามิ 3 ลูกซ้อน มีคนเสียชีวิต 4,000 คน
12 ส.ค. 2541 นายสมิทธ ธรรมสโรช ออกประกาศเตือนว่าให้คนไทยระวังสึนามิ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะมีความรุนแรงมากกว่า ปาปัวนิวกินี100 เท่า โดยระบุว่าจะเกิดสึนามิขึ้นระหว่างปี 2537 – 2547 และได้ออกวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิ เรียกว่า ข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย 10 ประการ
26 ธ.ค. 2547 เกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นในประเทศไทย ฝั่งทะเลอันดามัน คร่าชีวิตผู้คนอย่างมโหฬาร
เกิดความเสียหายใหญ่หลวงทุกด้าน- 2548 นายสมิทธ ธรรมสโรช แจ้งเตือนว่าจะเกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นอีกกลางปี 2548 และ
จะรุนแรงมากกว่า สึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งสอดคล้องตรงกันกับค่าเตือนของนายโสรัจจะ นวลอยู่ อยู่ โหรชื่อดัง ฉายา นอสตาดามุสเมืองไทย
2 ม.ค. 2548 - ธุรกิจการท่องเที่ยวกล่าวหาว่า นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นผู้ทำลายการท่องเที่ยว
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ห้ามนายสมิทธ เข้าจังหวัด- กรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาแถลงโต้ว่า ไม่เคยพบสัญญาณที่
จะเกิดนามิ ที่ชายฝั่งอันดามันการวิเคราะห์เหตุการณ์ “สึนามิ”จากการศึกษาเหตุการณ์สึนามิ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อ
วันที่ 26 ธันวาคม 2547 พบว่า เหตุการณ์สึนามิ ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ทำให้คนส่วนใหญ่ภายในประเทศไม่เชื่อถือคำเตือนของนายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งกล่าวเตือนให้ระมัดระวังภัยพิบัติที่เกิดจากสึนามิ โดยระบุว่าจะเกิดขึ้นช่วงระยะเวลาระหว่าง ปี พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2547 และยังแนะนำวิธีปฏิบัติกรณีเกิดสึนามิขึ้น เรียกว่า ข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณะภัย 10 ประการ มาให้ด้วยและต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้น
จริง บริเวณฝั่งทะเลอันดามัน คร่าชีวิตผู้คนมโหฬารและเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ในทุกด้าน
1.จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : สะท้อนให้เห็นความจริง ที่ว่าค่านิยมของสังคมไทย ไม่เชื่อว่าสึนามิ จะเกิดขึ้นจริง ในประเทศไทยถึงแม้จะมีนักวิชาการออกมาเตือนแล้ว ก็ไม่มีใครฟัง ซึ่งถ้าหากคนไทยปฏิบัติตามคำเตือน และข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณะภัย 10 ประการของคุณสมิทธ ธรรมสโรช คงจะลดความเสียหายที่เกิดจาก สึนามิลงได้เป็นอย่างมากต่อมาในปี 2548 นายสมิทธ ธรรมสโรช และนายโสรัจจะโหรชื่อดัง ฉายา นอสตาดามุส เมืองไทย ได้ออกมาเตือนให้คนไทยทราบว่าจะเกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นอีก กลางปี 2548 และจะรุนแรงมากกว่า ครั้งที่แล้วมากและสอดคล้องกับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาจากประเทศไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ขึ้นชื่อว่าทำนายเหตุการณ์สึนามิแม่นย่ำที่สุด ซึ่งในครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวออกมาโต้ว่า นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นผู้ทำลายการท่องเที่ยว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ห้ามนายสมิทธ เข้าจังหวัดภูเก็ตกรมอุตุนิยมวิทยาแถลงโต้ว่า ไม่เคยพบสัญญาณที่จะเกิดสึนามิขึ้นบริเวณฝ่งั ทะเลอันดามัน แต่อย่างใด
2. จากเหตุการณ์ดังกล่าว : สะท้อนให้เห็นความจริงที่ว่า ค่านิยมของสังคมไทยไม่ค่อยเชื่อถือข้อมูลด้านวิชาการ หรือไม่เชื่อถือนักวิชาการนั้นเอง และนักวิชาการก็มีข้อจำกัดในการสื่อสารให้สารธารณชนเชื่อถือดังจะเห็นได้จากการที่มีหลายฝ่ายออกมาโต้แย้ง ดร.สมิทธ ธรรมสโรชในกรณีการออกมาเตือนภัยสึนามิ ว่านายสมิทธ ทำให้การท่องเที่ยวเสียหาย ขาดรายได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในขณะนั้นห้ามมิให้นายสมิทธ เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต กรมอุตุนิยมวิทยาออกมาโต้ว่า ไม่มีสัญญาณสึนามิ บริเวณฝั่งทะเลอันดามันแต่อย่างใด แต่กลับไม่มีผู้ใดออกมาโต้แย้งคำเตือนของนายโสรัจจะ นวลอยู่ โหรชื่อดัง ฉายานอสตาดามุสเมืองไทย แม้แต่รายเดียว ซึ่งการออกมากล่าวเตือนภัยสึนามิ หากต้องการให้สังคมไทยเชื่อถือ ควรจะมีกุศโลบาย โดยมอบหมายให้ด้านโหรเป็นผู้ออกมากล่าวเตือนภัย โดยฝ่ายวิชาการเป็นผู้ให้ข้อมูล ด้านวิชาการอยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะทำให้การเตือนภัยบรรลุวัตถุประสงค์ ในเหตุการณ์นี้พอสรุปได้ว่า ค่านิยมของสังคมไทย มีแนวโน้มว่าจะเชื่อถือโหราศาสตร์และไสยศาสตร์เป็นทุนเดิม
จากการวิเคราะห์เหตุการณ์สึนามิ สามารถที่จะนำมากำหนดนโยบายสาธารณะได้ดังนี้
1. นโยบายด้านการศึกษาจะเห็นได้ว่าคนไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติ สึนามิเป็นอย่างมาก กระทรวงศึกษาธิการต้องให้ความรู้ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเกิดภัยพิบัติ สึนามิ โดยบรรจุไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา ของทุกโรงเรียนในประเทศไทย เพื่อให้เด็กไทยทุกคนทราบว่า สึนามิ สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย และทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ สึนามิเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง
2. นโยบายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยสึนามิ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ที่เคยประสบภัยพิบัติสึนามิ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับมืออย่างเต็มที่ และต้องมีแผนอพยพราษฎรไปอยู่ยังที่ปลอดภัย หากเกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นมาจริงซึ่งจะเป็นการลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด และเกิดความปลอดภัยกับประชาชนมากที่สุด
3. นโยบายด้านการท่องเที่ยวรัฐบาลต้องดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์ ให้ทราบว่าได้มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในพื้นที่ที่เคยเกิดสึนามิแล้วอย่างทั่วถึง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะมาเที่ยวได้อย่างปลอดภัย4. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
4.1 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรัฐบาลต้องสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการสูญเสียน้อยที่สุดตลอดจนมีการป้องกัน ดูแลรักษา สภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้ว เช่น ป่าชายเลน ปะการัง ภูเขา ป่าไม้ ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่ดีสมบูรณ์ตลอดไป
4.2 ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนส่งเสริมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายลงไปเนื่องจากเหตุการณ์สึนามิ เช่น การปลูกปาชายเลน การปลูกป่าทดแทนบริเวณพื้นที่เสื่อมโทรม เป็นต้น
4.3 นโยบายด้านการป้องกันและปราบปราม การบุกรุก ยึดถือครอบครอง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังการเกิดภัยสึนามิสภาพแวดล้อมถูกทำลายลงไป อาจมีผู้มีอิทธิพลเข้าบุกรุกครอบครอง พื้นที่สาธารณประโยขน์ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ฯลฯการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการ
4.4 มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม- ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องออกมาควบคุมการเก็บภาษีตามหลักผลประโยชน์ (Benefit Principle) โรงงานต่างๆ ที่ปล่อยของเสียทำลายสิ่งแวดล้อมต้องเสียภาษี เพื่อนำไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่นภาษีบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
มาตรการความร่วมมือและสมัครใจ รัฐบาลต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างระบบเครือข่าย ในการติดต่อประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น