1 ข้อ มี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 จากความหมายของ “นโยบาย (Policy)” 4 ความหมายของนักคิด 4 คน ท่านเห็นด้วยกับนโยบาย ของใครมากที่สุดเพราะอะไร หรือ ท่านคิดว่านิยามของใครดีที่สุด เพราะอะไร อธิบายนิยามของนโยบายสาธารณะที่ ท่านยกตัวอย่างมา โดยให้ประเมินผล และเสนอแนะ
คำตอบ
เห็นด้วยกับนิยามของ David Easton มากที่สุด ซึ่ง David Easton ได้ให้ความหมายของคำว่า “นโยบายสาธารณะ (Public Policy)” ไว้ว่า
David Easton (1953:129) นโยบายสาธารณะหมายถึง อำนาจในการจัดสรรค่านิยมของสังคมทั้งมวลและผู้ที่มี อำนาจในการจัดสรรก็คือรัฐบาล และสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจาก“การจัดสรร ค่านิยมของสังคม”
สรุปนโยบายสาธารณะ คือ อำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์หรือสิ่งที่มีคุณค่าแก่สังคม ซึ่งกิจกรรมของ ระบบการเมืองนี้จะกระทำโดยบุคคลผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมา จาก “การจัดสรรค่านิยมของสังคม” ทั้งนี้ Easton ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจนโยบายกับ ประชาชนในสังคมว่า การตัดสินในนโยบายใด ๆ ของรัฐบาลจะต้อคำนึงถึงค่านิยมและระบบความเชื่อของประชาชน ในสังคมเป็นสำคัญ
เหตุผลที่เห็นด้วยกับนิยามของ David Easton คือ Easton มองว่า “นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของ ระบบ (Output) หรือ นโยบายสาธารณะคือการโต้ตอบของระบบการเมืองต่อสภาพแวดล้อม” ตามตัวแบบระบบ (System Model) ที่ Easton อธิบายไว้ตามแผนภาพ
ระบบการเมืองการเรียกร้องการสนับสนุนนโยบาย หรือการตัดสินใจ และการกระทำปัจจัยนำเข้าปัจจัยนำออกสิ่งป้อนกลับสภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อม
ระบบการเมือง หมายถึง กลุ่มของสถาบันและกระบวนการต่าง ๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่ทำหน้าที่ในการ แจกจ่ายคุณค่าทางสังคมตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย
สภาพแวดล้อม
การตัดสินใจ
สิ่งป้อนกลับ
จากแผนภาพอธิบายได้ว่า ปัจจัยนำเข้าอาจจะเป็นข้อเรียกร้องต้องการ (Demands) ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งจาก ระดับปัจเจกบุคคลหรือระดับกลุ่ม และการสนับสนุนจากประชาชน (Supports) ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งระดับปัจเจกบุคคล และระดับกลุ่มที่แสดงออกมาในรูปของการเลือกตั้ง การเชื่อฟังกฎหมาย การจ่ายภาษี และการยอมรับในการ ตัดสินใจนโยบาย โดยข้อเรียกร้องและการสนับสนุนนั้น เป็นแรงกดดันที่สำคัญมากจาก สภาพแวดล้อม (Environment) ทั้งภายในและภายนอก จะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองเพื่อกลั่นกรองแล้วตัดสินใจออกมาเป็นปัจจัย นำออก(Outputs) ซึ่งก็คือนโยบายสาธารณะ ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นผลผลิตของระบบ ผลของนโยบายจะ ตกอยู่กับประชาชน ซึ่งปัจจัยนำออกนี้นั้นอาจส่งผลให้เกิดผลกระทบในเชิงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และ อาจเพิ่มการเรียกร้องให้มากขึ้น รวมทั้งนโยบายดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อย เพียงใด ดังนั้นจึงต้องมี ขบวนการป้อนกลับ FEEDBACK ที่ย้อนกลับมาเพื่อนำเอาข้อเรียกร้องนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ การเมืองอีกครั้งหนึ่ง เช่น คนกรุงเทพฯ มีปัญหาการจราจรติดขัดอยากให้รัฐบาลสร้างถนนเพิ่ม จากนั้นก็ประเมินผลว่า สร้างถนนแล้วการจราจรยังติดขัดอีกหรือไม่ ถ้ายังติดขัดอยู่ก็เป็น Feedback กลับเข้าสู่รัฐบาลอีกรอบหนึ่ง รัฐบาลก็ ต้องคิดว่าควรแก้ไขหรือกำหนดนโยบายใดออกมา หากนโยบาย แผน หรือโครงการ ไม่มีประสิทธิผลและไม่มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไข หลังจากปรับปรุงแก้ไขแล้วก็จะประเมินผลอีกครั้ง หากประเมินแล้วยังไม่ดีอีกก็จำเป็นจะต้องยุตินโยบาย ซึ่งขั้นตอนนี้ จะทำได้ยากมาก
จุดเด่น คือ การมองการกำหนดนโยบายค่อนข้างเป็นระบบ คือ มองนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่ระบบ การเมืองผลิตขึ้นและที่สำคัญยังให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมของระบบการเมืองว่าจะเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติงานของระบบให้มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด
จุดด้อย คือ ความไม่ชัดเจนของกระบวนการภายในของสิ่งที่เรียกว่า “ระบบการเมือง” ดังนั้นจึงขอสรุปอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับนิยามของ David Easton มากที่สุด เพราะ David Easton มองว่า “นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบ” ตามตัวแบบระบบ (System Model) ตราบใดที่ยังมีสังคม การจัดสรร คุณค่าทางสังคมหรือค่านิยมทางสังคม ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมและระบบความเชื่อของประชาชนในสังคมเป็น สำคัญ จึงต้องมีข้อมูลนำเข้า Input ซึ่งหมายถึงข้อเรียกร้อง ความต้องการ และการสนับสนุนจากประชาชน เช่น ปัญหาทั่วไป ปัญหาสังคม ประเด็นปัญหาสังคม และข้อเสนอของสังคม เข้าไปสู่ระบบการเมือง เพื่อให้บุคคลผู้มี อำนาจซึ่งหมายถึงรัฐบาลสั่งการหรือตัดสินใจว่าจะกระทำหรือไม่กระทำ โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอก ทั้งที่เอื้ออำนวยและไม่เอื้ออำนวย ทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เช่น การบริหารจัดการ บุคลากร สภาพเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี ฯลฯ จนท้ายสุดจะออกมาเป็น Output ซึ่งก็คือสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจ เป็นนโยบายสาธารณะนั่นเอง อาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎี และประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้น ถ้าหากผลผลิตของระบบไม่ดี ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ หรือ มี ปัญหาเกิดขึ้นจากการตัดสินใจใช้นโยบายสาธารณะดังกล่าวนั้น ก็จะกลายเป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำกลับเข้าสู่ กระบวนการเริ่มต้นใหม่ กลายเป็น System Life Cycle เพราะฉะนั้นหากระบบยังคงอยู่ กระบวนการต่างๆ ที่ต้อง กระทำ ก็จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเช่นนี้ เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า “การกระทำที่จัดสรรคุณค่าทางสังคม หรือ นโยบาย สาธารณะ ที่ดีที่สุด ตามนิยามของ David Easton นั่นเอง”
เลือกนิยามของ David Easton สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด Easton มองว่านโยบายสาธารณะ คือ นโยบายใดนโยบายหนึ่งประกอบด้วยเครือข่ายแห่งการตัดสินใจและการกระทำที่สรรหาคุณค่าทางสังคม เพราะอำนาจในการจัดสรรค่านิยมของสังคมทั้งมวลและผู้มีอำนาจในการจัดสรร คือ รัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำมีผลมาจากการจัดสรรค่านิยมในสังคม นโยบายของรัฐบาลมีลักษณะเป็น นโยบายประชานิยม การตัดสินใจในนโยบายใดๆ ต้องดูความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ เรียกกันว่า 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการรัฐบาลที่ทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการรักษาโรค โดยจ่ายเพียงสามสิบบาท โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาลและรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้รับบริการ เรียกกันว่า บัตรทอง
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภารกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง การที่จะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็นอย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน
Easton ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจนโยบายกับประชาชนในสังคม ว่าการตัดสินใจในนโยบายใดของรัฐบาลต้องคำนึงถึงค่านิยมและระบบความเชื่อของคนในสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งหากกำหนดนโยบายไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนรัฐบาลย่อมถูกปฏิเสธ
ส่วนที่ 2 ประเมินนโยบายสาธารณะว่าด้วยอาหารของ Us ตามคำบอกเล่าใน Food Inc.
Food inc. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเบื้องหลังธุรกิจอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แอบแฝงบางประเด็นที่ประชาชนไม่ได้มีโอกาสรับรู้ ในความไม่ปลอดภัยหรือกลไกการผลิต วัตถุดิบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องประสบเจอในชีวิตประจำวัน คือ การบริโภคอาหารเหล่านี้นั่นเอง รวมไปถึงอำนาจของบรรษัทที่มีต่อเกษตรกร ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบขาดเสรีภาพส่วนบุคคล โดยที่รัฐบาล ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือซึ่ง เป็นการมองข้ามประโยชน์สุขของประชาชน ที่เรียกว่า นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน
ส่วนแรก ทำการตรวจสอบอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ (ไก่,เนื้อวัว และหมู) ซึ่งหนังเห็นว่าเป็นกระบวนการที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม รวมทั้งปราศจากความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่สอง ทำการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์และพืชผัก ซึ่งหนังเห็นว่ามีความไม่ยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
ส่วนที่สามและส่วนสุดท้าย หนังพูดถึงอำนาจทางเศรษฐกิจและกฎหมายของเหล่าบรรษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ ซึ่งขายอาหารราคาถูกแต่เจือปนไปด้วยสารพิษ, ใช้สารเคมีอย่างมากล้น โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงและปุ๋ย รวมทั้งทำงานประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนอเมริกันมีนิสัยในการบริโภคอาหารที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ข้าพเจ้าใช้เกณฑ์ในการประเมิน นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุข ของสหรัฐอเมริกา ในภาพยนตร์ เรื่องFOOD,Inc. ดังนี้ คือ ประสิทธิภาพ(Efficiency) ความเป็นธรรม(Equity) ความยุติธรรม(Justice) เสรีภาพส่วนบุคคล(Individual Freedom) ซึ่งสามารถประเมินนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุข ของสหรัฐอเมริกาจากภาพยนตร์ได้ดังนี้
การประเมินเกี่ยวกับเรื่อง Food inc. คือ หลักประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม ความยุติธรรม และเสรีภาพส่วนบุคคล
หลักประสิทธิภาพ
การสรรหาวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ถ้ามองการกลไกการทำธุรกิจในภาคเอกชนของบรรษัทนั้นถือว่าประสบความสำเร็จคือ หาผลกำไรมากที่สุดโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ใช้ทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมกับงาน ผลิตผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด มีการใช้มืออาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการ แต่สิ่งที่บรรษัทปฎิบัตินั้นมุมมองของนโยบายสาธารณะคือ การเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรผู้ที่ทำไร่ทำนาเป็นอย่างยิ่ง และไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการผลิตที่บิดเบือนไปจากธรรมชาติโดยบรรษัทนั้นเข้ามามีบทบาทในการผลิตมากอย่างคิดโกงคำนึงถึงแต่เป้าหมายคือผลกำไรมากเกินไปโดยทำอะไรก็ได้ที่ให้ตนเองนั้นอยู่รอดโดยการตัดมือตัดเท้าชาวไร่ชาวนาในการทำมาหากิน การผลิตที่ไม่สามารถผลิตทรัพยากรที่มีความต้องการของตลาดได้ เพราะมีกรรมวิธีที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนการผลิตของชาวไร่ชาวนาเป็นไปตามธรรมชาติ ที่มีปัจจัยที่เกิดผลกระทบหลายๆอย่างในการผลิต
จากการประเมินนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุข ของสหรัฐอเมริกา หากมองในมุมของทางด้านธุรกิจของเอกชน เป็นการผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพกล่าวคือ สามารถผลิตได้มาก ในระยะเวลา และต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลให้ราคาต่อหน่วยต่ำลงและขายได้มากขึ้น จึงเกิดกำไรอย่างสูง แต่หากมองในมุมกลับกัน การผลิตทางด้านธุรกิจอาหารในสหรัฐฯที่ได้มาซึ่งประสิทธิภาพนั้น ไม่คำนึงหรือสนใจกระบวนการผลิตโดยใช้วิธีการบิดเบือนกลไกทางด้านการตลาด ลดคุณภาพ บิดเบือนกระบวนการผลิตที่ผิดธรรมชาติให้อยู่ในระบบที่สามารถควบคุมปัจจัยการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ เป็นการผลิตที่ไม่มีประสิทธิผล และไม่คำนึงถึงคุณภาพ เป็นการดำเนินนโยบายที่เน้นทุนนิยมที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เป็นนโยบายที่สร้างประสิทธิภาพและประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชนแต่ไม่สร้างประสิทธิภาพและไม่คำนึงถึงประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยขาดความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก
ความเป็นธรรม
ในเรื่อง Food inc. นั้น ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมหลายๆอย่างที่บรรษัทได้กระทำต่อขาวไร่ชาวนา เช่น เมล็ดการเพาะปลูกที่ถูกตกแต่งพันธุกรรมและนำไปจดสิทธิบัตรแล้วนำมาครอบงำให้ชาวไร่ชาวนาปลูก โดยอาศัยอำนาจรัฐบาล มองแบบหยาบๆคือเมื่อเพาะปลูกแล้วก็ได้ผลผลิตแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธ์ไว้ได้อีก จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธ์ใหม่อยู่เสมอจากบรรษัท หากเก็บไว้ก็จะถูกฟ้องร้อง ชาวไร่ชาวนาก็ต้องสู้คดีเองโดยใช้ทุนส่วนตัว ซึ่งแน่นอนไม่สามารถสู้กับอำนาจทุนของบรรษัทเหล่านี้จึงต้องแพ้ไปในที่สุด ผู้บริโภคก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยไม่เปิดเผยในสิ่งที่เค้าบริโภคว่ามีอะไรเจือปนหรือกรรมวิธีผลิตอย่างตรงไปตรงมาแล้วถ้ามีใครวิพากวิจารณ์ ก็จะถูกฟ้องร้องเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทั้งที่เราทุกคนได้จ่ายภาษีให้กับรัฐแต่การรับรู้ความเป็นจริงไม่ได้สนองตอบกลับมา
จากการประเมิน นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุข ของสหรัฐอเมริกานอกจากเกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนโยบายด้านการเกษตรของสหรัฐฯดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผู้บริโภคของสหรัฐเองก็ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเกิดจากนโยบายที่อำนาจรวมไปสู่ศูนย์กลาง และมีกลุ่มบุคคลที่ใช้อำนาจนั้น กีดกันผู้ผลิตอาหารในระบบที่แท้จริงนั่นคือเกษตรกร กดขี่คนงานที่ทำงานให้กับบรรษัทเอกชนนั้น และปิดบังผู้บริโภค เพราะพวกเขาไม่สามารถรู้เลยว่าอาหารที่พวกเค้ากินถูกผลิตมาจากแหล่งไหน มีปริมาณสารอาหาร และสารเคมีเจือปนอย่างไร ผู้บริโภคถูกปิดหูปิดตา ไม่รู้ว่าอาหารที่พวกเค้ากินนั้นส่งผลยังไงต่อร่างกาย โดยไม่ให้ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร กรณีเช่นนี้เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในการออกระเบียบ หรือพิจารณาความนั้นมีสายสัมพันธ์หรือเคยทำงานอยู่ในบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ได้ผลประโยชน์จากการกระทำเหล่านั้นเข้าไปมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรต่างๆที่เกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุขของสหรัฐฯเมื่อเกิดข้อพิพาทหรือกรณีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจเหล่านั้นก็จะพิจารณาในลักษณะที่เป็นคุณกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งไม่เพียงปิดบังว่ามีอะไรในผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ยังพยายามทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ผลิตภัณฑ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เป็นการดำเนินนโยบายที่เข้าข้างบรรษัทยักษ์ใหญ่ไม่ให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภคทั้งที่เป็นผู้ซื้อ
ความยุติธรรม
ในเรื่อง Food inc. การที่บรรษัทเหล่าในนี้ใช้กฎหมายตัวเดียวกับประชาชน แต่ก็สามารถหลบเหลี่ยงข้อกฎหมายได้ ฉะนั้นผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต้องออกมาหาข้อเรียกร้องเอง เพื่อหาความยุติธรรม ในเรื่องของโรงงานเลี้ยงสัตว์นั้นถ้าเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดา ถ้าถูกตรวจพบว่ามีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ก็จะถูกปิด แต่บรรษัทเหล่านี้กลับถูกมองว่าไม่มีข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดเชื้อโรคเลย การปลิวของละอองเกสรนั้นบรรษัทก็จะหาว่าชาวละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความไม่ยุติธรรมเป็นสองมาตรฐานที่รัฐได้กระทำกลับประชาชน ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่เหมือนกับกลับบรรษัท ต่างกันเพียงแค่ความร่ำรวย
จากการประเมิน นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับอาหารและการสาธารณะสุข ของสหรัฐอเมริกา นโยบายไม่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน เมื่อประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วการดำเนินนโยบายจึงไม่เกิดความยุติธรรมกับประชาชน
หลักเสรีภาพส่วนบุคคล ในเรื่อง Food inc. ชี้ให้เห็นถึงการขาดเสรีภาพของชาวไร่ชาวนาที่ถูกจำกัดอย่างขาดเสรีภาพ ในเรื่องการผลิตผลผลิตเช่นการเก็บเมล็ดพันธ์ข้าวโพด การเลี้ยงสัตว์ที่ต้องปกปิดแสงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เสรีภาพในการทำมาหากินถูกกีดกัน เพราะว่าชาวไร่ชาวนานั้นมีความจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการทำมาหากินมากเกินไป การเลี้ยงสัตว์อย่างธรรมชาติก็ไม่น่าถูกกดขี่จากรัฐและบรรษัทเหล่านั้น เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการทำมาหากินโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เพราะอาศัยธรรมชาติและธรรมชาติก็ไม่มีส่วนได้เสียของการทำเกษตร การเลี้ยงสัตว์ นี่สิ่งที่เห็นได้ชัดในเสรีภาพในการทำมาหากิน แต่บรรษัทมีอิสรเสรีในการกระทำสิ่งต่างๆได้อย่างเต็มที่
ไม่เพียงแต่ประชาชนผู้บริโภคเท่านั้นที่ถูกละเมิดและจำกัดเสรีภาพ เกษตรกรเองยังได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายด้านอาหารของสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิบัตรในการเก็บเมล็ดพันธ์ ซึ่งเมล็ดพันธ์ที่เกษตรกรปลูกเองและเป็นของเขาเอง กับถูกกีดกันไม่ให้เก็บเพื่อนำไปปลูกในรุ่นต่อไป ทั้งๆที่ปลูกในที่ของตนเอง แต่หากมีละอองเกสร พันธ์ของบรรษัทมาปนเปื้อน บรรษัทก็จะฟ้องหาว่าเกษตรกรละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งนโยบายเช่นนี้เป็นการคุกคามเสรีภาพของสาธารณะ แทนที่เมล็ดพันธ์ทางการเกษตรจะเป็นของสาธารณะ ที่เกษตรกรทุกคนสามารถเข้าถึง ได้และรัฐให้การคุ้มครองและเก็บรักษาพัฒนาเมล็ดพันธ์ กลับกลายเป็นว่าบรรษัทเอกชนได้ฉกฉวยโอกาสนี้ ไปพัฒนาเมล็ดพันธ์และจดสิทธิบัตรป้องกันไม้ให้เกษตรกรเข้าถึงโดยเสรี และรัฐก็เข้าไปคุ้มครองสิทธิบัตรนั้นซึ่งเป็นประโยชน์กับบรรษัทแต่ไม่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น