วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมทางการเมือง

จริยธรรมทางการเมือง
ในทางการเมือง โดยเฉพาะการเมืองในทุกวันนี้ ประเด็นเรื่องจริยธรรมได้มีการหยิบยกมา พูดกันมาก ถึงกับตั้งเป็นหัวข้อว่า สังคมไทยกับการล้มละลายทางจริยธรรม เพราะนักการเมืองส่วน หนึ่งหรือจะบอกว่าส่วนใหญ่ก็ได้ มองเรื่องการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ เรื่องจริยธรรม แม้ เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการกระทําของตน ก็จะเบี่ยงเบนไปว่า เป็น ข้อผิดพลาดทางเทคนิค ไม่จำเป็นต้องลาออก ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ แม้แต่การโกงเงินวัดโดย นักการเมือง คนระดับผู้นำประเทศก็ออกมาให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด เมื่อเอาเงินไปคืนแล้ว ก็จบได้ แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทางศีลธรรมของจิตใจหรือมืดบอดทางศีลธรรมไปแล้ว การโกง บ้านโกงเมืองจึงมี อยู่ทั่วไป นอกจากการทุจริตเชิงนโยบายแล้ว การทุจริตบางกรณีก็กล้าทำกันอย่าง ชัดแจ้ง เช่น การออกโฉนดทับที่รถไฟ เป็นต้น
หลังการปฏิรูปทางการเมืองและมี การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประชาชนต่าง คาดหวังว่า บ้านเมืองคงจะดี ขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ตอกย้ำเรื่อง ศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ โดยนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกันก็ได้กำหนดให้มีองค์กรอิสระ เพื่อ ควบคุมการใช้ อำนาจรัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง โปร่งใส (transparency) และตรวจสอบได้ (accountability) แต่ เมื่อวันเวลาได้ผ่านไป ความจริงก็ปรากฏว่า ผู้มีอำนาจทางการเมืองได้ทำลาย หลักการดังกล่าวแทบหมดสิ้น การอุ้มฆ่า การฆ่าตัดตอน การปฏิบัติต่อผู้ ต้องหาเหมือนว่าเขามิใช่ มนุษย์ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง การทําลายระบบตรวจสอบ ปรากฏชัดขึ้นๆ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ได้กระทำอย่างเป็นระบบ โดยผ่านทางวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งองค์กรอิสระ
เหตุการณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แสดงให้ เห็นว่า แม้ระบบต่างๆ จะได้รับการออกแบบที่คิดว่าดี แล้ แต่หากผู้ ใช้อำนาจทางการเมืองตลอดจนผู้ ที่เกี่ยวข้องขาดจริยธรรมหรือขาดธรรม ย่อมจะ ทำลายระบบที่วางไว้ได้ และประเทศไทยก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะท้าทายนักทฤษฎีทั้งหลายว่า ระบบที่ วางไว้และคิดว่าดีแล้ว อาจถูกทำลายได้ด้วยการคิดใหม่ ทำใหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น