วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

รัฐวิสาหกิจ ข้อดีข้อเสีย ความแตกต่างของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สังคมนิยม และแบบผสม

ความหมายของรัฐวิสาหกิจ
       ความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ที่ใช้เป็นหลักและอ้างอิงอยู่เสมอ คือ ความหมายของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งสรุปไว้ว่ารัฐวิสาหกิจ คือ องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 (เช่นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) ดังนั้น รัฐวิสาหกิจจึงเป็นหน่วยงานทางธุรกิจหรือกิจการของรัฐที่มีภารกิจในการให้บริการสาธารณะ ด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมรวมถึงเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลจากภารกิจของรัฐวิสาหกิจข้างต้น จึงทำให้รัฐวิสาหกิจมี ลักษณะองค์การและการดำเนินงานที่มีลักษณะผสมระหว่างกิจการเอกชนต้องมีความคล่องตัว ในการดำเนินงาน และมีเป้าหมายคือกำไรในการดำเนินงานอันเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจ กับการเป็นหน่วยงานของรัฐแบบมหาชนซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ของกฎหมายและ มี เป้าหมายคือผลประโยชน์ต่อส่วนรวมอันเป็น เป้าหมายทางสังคม
รัฐวิสาหกิจ (state enterprise) คือ ธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ คือ เป็นของส่วนรวมเป็นของคนไทยทุกคน ตัวอย่างของรัฐวิสาหกิจ เช่น รถเมล์ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง ไปรษณีย์
ความเป็นมาของรัฐวิสาหกิจ
      รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475ซึ่งรัฐบาลไทยในขณะนั้นและต่อมามีนโยบายให้จัดตั้งรัฐวิสาหกิจดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านอุปโภคบริโภคของประชาชนให้เพียงพอและเพื่อบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ให้เจริญก้าวหน้า โดยในขณะนั้นภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและความสามารถ ซึ่งมีผลทำให้มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100กว่าแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการบัญญัติพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามที่รัฐบาลเห็นสมควร เพื่อเข้าไปแทรกแซงในเศรษฐกิจหลายสาขาได้โดยสะดวกแต่อย่างไรก็ตามต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤธดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายจากการแทรกแซง ของรัฐในภาคเศรษฐกิจมาเป็นการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจต่อภาคเอกชนและ ต่างประเทศโดยรัฐเป็นเพียงผู้คุ้มกัน ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายนี้ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1พ.ศ. 2504-2509 ขึ้นอีกด้วยซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนครั้งแรก ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเปลี่ยนแปลงไปทำให้ภาคเอกชนมีความสามารถมากขึ้น มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่รัฐวิสาหกิจต่าง ๆที่ตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาลส่วนหนึ่งนั้นประสบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิต การตลาดและการคลังความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร
องค์การและบริหารงานบุคคล รวมถึง มีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อดูแลรัฐวิสาหกิจทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นไม่สามารถตอบสนองนโยบาย ในอันที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาฯได้เท่าที่ควรในขณะเดียวกันที่ภาคเอกชนได้พัฒนากิจการของตนให้มีประสิทธิภาพล้ำหน้ากิจการรัฐวิสาหกิจจึงทำให้รัฐบาลสมัยนั้นต้องทบทวนว่ารัฐวิสาหกิจใดที่รัฐสมควรดำเนินกิจการต่อไปกิจการใดควรคืนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการจึงได้ดำเนินการลดจำนวนรัฐวิสาหกิจลงและนโยบายนี้ก็ได้ดำเนินการต่อๆมาจนกระทั่งในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจคงเหลืออยู่จำนวน 66 แห่ง (โดยไม่นับรวมบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) จากเดิมที่มี 100 กว่าแห่ง
        จากจำนวนรัฐวิสาหกิจ 66 แห่ง (โดยไม่นับรวมบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) เป็นองค์กรอิสระ 2 แห่ง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถแบ่งตามสาขาเศรษฐกิจได้ 9 สาขา ดังนี้
1. สาขาพลังงาน 4 แห่ง
2.
สาขาขนส่ง 14 แห่ง
3.
สาขาสื่อสาร 3 แห่ง
4.
สาขาสาธารณูปการ 4 แห่ง
5.
สาขาอุตสาหกรรม 11 แห่ง
6.
สาขาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 10 แห่ง
7.
สาขาสังคมและเทคโนโลยี 7 แห่ง
8.
สาขาพาณิชยกรรมและบริการ 8 แห่ง
9.
สาขาสถาบันการเงิน 5 แห่ง
ข้อดี  ข้อเสีย  รัฐวิสาหกิจ State Enterprise

    
รัฐวิสหาหกิจ หมายถึง องค์การหรือธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือ รัฐวิสาหกิจมีหุ้นอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50กิจการของวิสาหกิจเอชนบางชนิด เกิดจากการที่รัฐเข้าแทรกแซงในการให้บริการ และกำหนดราคาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพราะกิจการบางอย่างการแข่งขันโดยเสรีไม่อาจเป็นไปได้  เช่น การเดินรถประจำทาง แม้เอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินงาน แต่รัฐเข้าควบคุมการให้สัมปทาน หรือกำหนดราคาค่าโดยสาร เพื่อป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนบางกรณีการควบคุมไม่บังเกิดผล รัฐต้องดำเนินงานเองในรูปรัฐวิสาหกิจ และกิจการบางกิจการต้องอาศัยสิทธิและอำนาจตามกฏหมายที่มอบให้แก่รัฐบาลโดยเฉพาะ หรือต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ รัฐมักทำกิจการเอง เนื่องจากเหตุเกี่ยวกับสวัสดิการของสังคม  เหตุผลทางเศรษฐกิจ  เหตุผลทางการปกครอง และ
ทางการทหาร ซึ่งเป็น ข้อดี ของรัฐวิสาหกิจ  ข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ คือ
      1.  สมรรถภาพ : การบริหารมักถูกควบคุมด้วยระเบียบปฏิบัติ ทำให้งานล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์ การควบคุมบั่นทอนความรับผิดชอบและความคิดริเริ่ม การบริหารงานมักพิจารณาตัวบุคคล มากกว่าการคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ การดำเนินนโยบายจึงเป็นการวางแผนเฉพาะหน้ามากว่าการวางแผนระยะยาว
      2. 
ประสิทธิภาพ : ส่วนมากขาดประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารงานขาดความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจ ต้นทุนการผลิตสูง   เพราะต้องซื้อวัตถุดิบราคาสูงกว่ารัฐวิสาหกิจเอกชน และพนักงานมาเกินความจำเป็นการที่รัฐวิสาหกิจล้มเหลว นอกจากจะส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าด้วยราคาที่สูงแล้วยังต้องรับภาระภาษีอากรเพิ่มด้วย
ระบบเศรษฐกิจ   แบ่งออกได้   3 ระบบ
      ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม     capital    Economic    System    เป็นระบบที่ปัจจัยและการลงทุนเป็น
กรรมสิทธิของเอกชน ผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา
     
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม   Socialist   Capital   Economics   System     เอกชนมีสิทธิ์ในการใช้
ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค
     
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม    Mixed    Economy  เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยม
และสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง

รายชื่อองค์กรรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

แยกตามส่วนราชการที่กำกับดูแล
     สำนักนายกรัฐมนตรี
     1. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ( MCOT Public Co., Ltd.)
     2. โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( Police Printing Bureau)
     กระทรวงกลาโหม
     1. บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ( Bangkok Dock Company Limited)
     กระทรวงการคลัง
     1. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ( Thailand Tobacco Monopoly)
     2. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ( Government Lottery Office)
     3. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต ( Playingcards Factory)
     4. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ( Liquor Distillery Organization)
     5. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
     ( The Syndicate of Thai Hotels and Tourists Enterprises Limited)
     6. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ( Krung Thai Bank)
     7. ธนาคารออมสิน ( Government Saving Bank)
     8. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( Government Housing Bank)
     9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
     ( Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)
     10. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
     ( Export-Import Bank of Thailand)
     11. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
     ( Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)
     12. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ( Secondary Mortgage Corporation)
     13. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
     ( Small Industry Credit Guarantee Corporation)
     14. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
     ( Dhanarak Asset Development Company Limited)
     15.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
     ( Islamic Bank of Thailand)
     กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
     1. การกีฬาแห่งประเทศไทย ( Sports Authority of Thailand)
     2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( Tourism Authority of Thailand)
     กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
     1. การเคหะแห่งชาติ ( National Housing Authority)
     2. สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ( Public Pawnshop Office)
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     1. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
     ( Thai Dairy Farming Promotion Organization of Thailand)
     2. องค์การสวนยาง ( Rubber Estate Organization)
     3. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ( Marketing Organization for Farmers)
     4. องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization)
     5. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
     ( Office of the Rubber Replanting Aid Fund)
     กระทรวงคมนาคม
     1. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ( Airports of Thailand Public Co., Ltd.)
     2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ( Port Authority of Thailand)
         3. การรถไฟแห่งประเทศไทย ( State Railway of Thailand)
     4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( Bangkok Mass Transit Authority)
     5. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
     ( Aeronautical Radio of Thailand Limited)
     6. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ( Thai Maritime Navigation Co., Ltd.)
     7. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ( Thai Airways International Public Co., Ltd.)
     8. บริษัท ขนส่ง จำกัด ( Transport Co., Ltd.)
     9. สถาบันการบินพลเรือน ( Civil Aviation Training Center)
     10. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
     ( Mass Rapid Transit Authority of Thailand)
     11. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
     ( Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand)
     กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     1. องค์การจัดการน้ำเสีย ( Waste Water Management Authority)
     2. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ( The Botanical Garden Organization)
     3. องค์การสวนสัตว์ ( Zoological Park Organization)
     4. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ( Forest Industry Organization)
     กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     1. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ( TOT Public Company Limited)
     2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
     ( Cat Telecom Public Company Limited)
     3. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ( Thailand Post Co., Ltd)
     กระทรวงพลังงาน
     1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT)
     2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ( PTT Public Company Limited)
     กระทรวงพาณิชย์
     1.องค์การคลังสินค้า ( Public Warehouse Organization)
     กระทรวงมหาดไทย
     1. การไฟฟ้านครหลวง ( Metropolitan Electricity Authority)
     2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( Provincial Electricity Authority)
     3. การประปานครหลวง ( Metropolitan Waterworks Authority)
     4. การประปาส่วนภูมิภาค ( Provincial Waterworks Authority)
     5. องค์การตลาด ( Marketing Organization)
     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
     ( Thailand Institute Scientific and Technological Research)
     2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ( National Science Museum )
     กระทรวงสาธารณสุข
     1. องค์การเภสัชกรรม ( The Government Pharmaceutical Organization)
     กระทรวงอุตสาหกรรม
     1. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( Industrial Estate Authority of Thailand)

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
                แนวความคิดเกี่ยวกับแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นมาจาก ความเชื่อด้านสังคมนิยม กับเสรีนิม โดย "ลัทธิสังคมนิยม" นั้น ทุกอย่างต้อง "Nationalised" คือ หากพูดให้ถึงก้นบึ้ง คนที่เชื่อแนวคิดนี้ จะต้องคิดว่า กิจการทุกอย่างควรเป็นเป็นของรัฐ และไม่เชื่อว่า "การแข่งขันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ" แต่ การให้สังคมเป็นเจ้าของเท่านั้น ที่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของสังคม ซึ่งเป็นความเชื่อของพรรคกรรมกรอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และได้โอนกิจการทุกอย่างเข้าไปเป็นของรัฐ ไม่ว่าเหมืองแร่ อุตสาหกรรมหนัก เรียกว่ายุค Command Height และทำให้ยุค 1960-1980 เป็น "ยุคทองของสหภาพแรงงาน" ที่สหภาพแรงงานใหญ่กว่ารัฐ มีการประท้วงตลอดเวลา จนนำไปสู่ความวุ่นวายของสังคม และระบาดไปทั่วโลก หากใครศึกษาให้ดี ยุคนั้นเรียกว่า "ยุคสหภาพมาแล้ว" ประเทศไทย ตัวอย่างคลาสสิค คือ การประท้วงของสหภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ประท้วงได้ทั้งปี จนคนรำคาญ
เมื่อสังคมอังกฤษรำคาญมากขึ้น และเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง อุตสาหกรรมแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ เพราะมีการประท้วงตลอดเวลา ผลผลิตลดลง ก็นำไปสู้ยุคของพรรคอนุรักษ์นิยม "สตรีเหล็กมากาเร็ต แธทเชอร์" ที่ขึ้นมาและประกาศจะปฏิรูปทุกอย่าง ให้มีความเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น และแธทเชอร์ก็ประกาศขายกิจการของรัฐทุกชนิด และสู้กับสหภาพอย่างถึงพริกถึงขิง จนอังกฤษเป็นประเทศแรกๆ ที่ขายกิจการรัฐวิสาหกิจ หลังจากนั้น เศรษฐกิจของอังกฤษก็ฟื้นตัว และทำให้แธทเชอร์และพรรคอนุรักษ์นิยมครองอำนาจถึง 18 ปี ตั้งแต่ปี 1979-1997 เรียกว่ายุค The Great Divestiture เมื่อโทนี่ แบลร์ ขึ้นมา ก็ไม่ได้ล้มนโยบายแธทเชอร์ แค่เก็บภาษีที่เรียกว่า Windfall Tax เพิ่มขึ้นเท่านั้น
แนวความคิดเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด เกิดขึ้นมากจากแนวคิดที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการเหล่านี้ โดยมีข้อสมมุติฐานว่า "การแข่งขัน" จะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่า กิจการสาธารณูปโภคอะไรที่แข่งขึ้นได้ กิจการหมายถือ "กิจกรรม หรือ Activities" อะไรที่แข่งขันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพ กิจกรรมอะไรที่แข่งขันแล้วจะทำให้สังคมเสียประโยชน์มีกิจการที่ Natural Monopoly เท่านั้นที่แข่งขันแล้วสังคมจะเสียประโยชน์ เพราะทำให้ต้นทุนทางสังคมสูงขึ้น ในธุรกิจไฟฟ้าก็จะมีกิจการ "สายส่ง" และ การจำหน่ายไฟฟ้าบางระดับ เพราะหากสร้างสายส่งแรงสูง 2 สายไปเมืองเดียวกัน ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของสังคม ใช้สายเดียวก็พอ แต่หากมีสายเดียวก็จะเป็นการผูกขาด
ดังนั้นกิจการนี้จึงต้องมีการ "กำกับดูแล" ราคา และบริการโดยรัฐ ส่วนการผลิตไฟฟ้า เป็นกิจการที่แข่งขันแล้วจะทำให้ต้นทุนต่ำลง ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. จึงให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ ก็จะได้ต้นทุนต่ำลง โรงไฟฟ้าโรงไหน ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำ ขายถูก ประชาชนควรจะมีสิทธิซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านั้น หากโรงไฟฟ้าไหนต้นทุนแพง ค่าโสหุ้ยมาก คนงานมากขาดประสิทธิภาพ รัฐก็ไม่ควรอุ้มโรงไฟฟ้านั้น เพราะสังคมต้องซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านี้แพง ทั้งๆ ที่มีโอกาสจะซื้อไฟฟ้าได้ต่ำกว่าหากผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาเสนอราคาต่ำกว่า
ส่วนการเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของจากรัฐไปสู่เอกชน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพหรือไม่ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าเอกชน มีสัญชาติญาณของการแข่งขันและการลดต้นทุนดีกว่ากิจการของรัฐ ดังนั้นจึงมีเหตุมีผลที่ว่า หากเปลี่ยนมือไป สู่เอกชนแล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนั้นจะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ซึ่งแม้แต่การเปลี่ยนมือบางส่วนก็จะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะเอกชนต้องการข้อมูลที่โปร่งใส
ส่วนคำถามที่ว่า "แปรรูปแล้วค่าไฟฟ้าจะถูกลงหรือไม่" คำตอบไม่ได้อยู่ที่การแปรรูปอย่างเดียว แต่อยู่ที่ "ระบบกำกับดูแล" ของรัฐว่าจะใช้ระบบกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายระบบเช่น RPI-X, Marginal Cost Pricing ฯลฯ นอกจากนี้ "องค์กรกำกับดูแล หรือ Regulator ต้องมีอิสระและรับผิดชอบต่อผู้บริโภค หากแปรรูปแล้ว บริษัทที่เปลี่ยนมือเป็นเอกชนยังสามารถผูกขาดและครอบงำตลาดได้ ก็จะไม่ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่อาจจะเลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นทางที่ควรจะต้องทำคือ Restructuring หรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าก่อนแล้วจึงแปรรูปทีหลัง เพราะหากแปรรูปก่อนปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ก็จะล้มเหลวเพราะบริษัท กฟผ. ใหม่ยังคงผูกขาดกิจการไฟฟ้าเหมือนเดิม
การพิจารณาว่าอะไรเป็นสมบัติของชาติไม่ได้อยู่ที่ว่า รัฐเป็นเจ้าของกิจการนั่นหรือไม่ หากรัฐเป็นเจ้าของ แต่ประชาชนหรือผู้บริโภคไม่ได้ประโยชน์ ต้องเสียค่าใช้บริการที่สูงกว่าความจำเป็น คุณภาพของบริการต่ำ รวมทั้งรัฐต้องเอาภาษีของประเทศชาติไปอุดหนุนในกิจการเหล่านี้สังคมก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากกิจการที่อ้างว่าเป็นสมบัติของชาติเหล่านี้ ดังนั้น คำว่า "ผลประโยชน์ของประเทศชาติ" จึงควรมีการนิยามที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจับต้องได้ ไม่ใช่ยกคำพูดขึ้นมาสวยหรู ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในกรณีของ "กิจการสาธารณูปโภค" จึงควรจะหมายถึง กิจการเหล่านั้น ต้องสามารถ "จัดบริการให้แก่ประชาชนหรือผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพบริการที่ดี แหละค่าบริการต่ำที่สุด" ซึ่งค่าบริการหรือราคา จะต่ำได้ ก็ต่อเมื่อ กิจการสาธารณูปโภคแห่งนั้นต้องผลิตบริการของตนด้วย "ต้นทุนต่ำ" ซึ่ง "การผูกขาด" ไม่มีทางที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ค่าบริการที่ต่ำได้ ยกเว้น "กิจการนั้นมีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติ" และการแข่งขัน ก็จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี ต้นทุนต่ำลง
ในกรณีของ กฟผ. ที่อ้างว่า "เป็นสมบัติของชาติ" ประชาชนเจ้าของประเทศควรจะได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม คือ บริการครอบคลุม ค่าไฟฟ้าถูก และต้องไม่มีไฟฟ้าดับ (ตัวชี้วัดคุณภาพบริการ) การที่รัฐหรือเอกชนจะเป็นเจ้าของหรือไม่จึงไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด เพราะหากเอกชนเป็นเจ้าของแล้ว สามารถบริการผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ราคาต่ำ ไฟฟ้าไม่ดับ ประโยชน์ต่อสังคมก็จะมีมากกว่ารัฐเป็นเจ้าของแล้วจัดบริการไม่ได้อย่างที่เอกชนทำ นอกจากนี้เอกชนเป็นเจ้าของรัฐก็ยังคงเก็บภาษีเข้ารัฐ มีรายได้จากกิจการนั้น เหมือนกับที่รัฐเป็นเจ้าของอยู่ดี ดังนั้น ใครเป็นเจ้าของจึงไม่มีความแตกต่างเกี่ยวกับรายได้เข้ารัฐ
เป้าหมายของรัฐเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภค ไม่มีอะไรมาก นอกจากการจัดบริการต่างๆ ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงทุกคน ราคาต่ำ คุณภาพบริการที่ดี
การแปรรูปเขาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกระจายทุนไปสู่ภาคประชาชนทำให้เป็น Popular Capitalism อย่างแท้จริง
เพราะอะไรหรือครับ เพราะระบบทุนนิยม "มุ่งแสวงหากำไร" หากทุกคนถือหุ้นกิจการต่างๆ ของชาติ "กำไร" ก็จะกระจายไปสู่ผู้ถือหุ้น" ที่เป็น ประชาชนส่วนใหญ่ มันก็เหมือนวงกลม คือ ผู้ใช้บริการคือ "Consumers" มีสองสถานะคือ ผู้บริโภค และ เจ้าของทุน ในฐานะผู้บริโภค เขาก็จะต้องจ่ายค่าบริการ ในฐานะเจ้าของทุน เขาก็จะได้กำไร ตอบแทน หากเขาอยากใช้บริการในราคาต่ำ เขาก็จะได้กำไรน้อย ได้เงินปันผลต่ำ หากอยากได้เงินปันผลมาก เขาก็จะต้องจ่ายค่าบริการแพง เหมือนเงินโอนจากกระเป้าซ้ายไปกระเป๋าขวา ดังนั้น "พนักงานรัฐวิสาหกิจ" จึงมีหน้าที่เพียง "จัดบริหารให้มีประสิทธิภาพ ด้วยต้นทุนต่ำสุด บริการดีที่สุด" แค่นั้นเองครับ แต่วิธีที่จะวัดประสิทธิภาพดีที่สุดคือ "กำไร" ครับ ไม่มีวิธีอื่นได้ผลมากไปกว่านี้ครับ ในประเทศอังกฤษ ประชาชน จำนวนมากถือหุ้นครับ เป็น Popular Capitalism (ประมาณว่ามีประชาชนประมาณ 10 ล้านคนถือหุ้นในกิจการรัฐวิสาหกิจ ถือเป็นการกระจายทรัพย์สินของรัฐเข้าไปอยู่ในมือประชาชนมากที่สุด) หรือระบบทุนนิยมใกล้เคียงกับอุดมคติมากที่สุด คิดง่ายๆ หากทุกบริษัทในสังคม มีประชาชนทุกคนถือหุ้น กำไร ก็จะตกอยู่กับ ประชาชนนั้นแหละครับ
สิ่งที่พนักงานรัฐวิสาหกิจควรได้รับ จึงควรเป็นแค่ค่าจ้างนะครับ และไม่ควรสูงกว่าตลาดมากนัก เช่น ตำแหน่งคนขับรถในตลาดแรงงาน เดือนละ 8,000 บาท แต่ พนักงานขับรถ กฟผ. ได้ 40,000 บาท ส่วนเกิน 32,000 บาท จาก ค่าแรงเฉลี่ย คือ สิ่งที่เรียกว่า "ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent)" ค่าเช่าในทางเศรษฐกิจ ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วไม่ควรมี เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม ไม่ได้ทำให้ Productivity สูงขึ้น เป็นแค่เงินโอน ทางสังคม เท่านั้น เป็นการเอาเปรียบสังคม เพราะไปครอบครองสมบัติทางสังคม ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต
ปัจจุบัน พนักงาน กฟผ. ได้รับค่าเช่า ทางเศรษฐกิจสูงมาก เป็นกลุ่มที่เอาเปรียบสังคม เพราะไปครอบครองสมบัติสาธารณะ แล้วเก็บค่าเช่าเข้ากระเป๋าตัวเอง พวกเขาจึงห่วงแหนสมบัตินี้ ไว้เพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่หาใช่เพื่อประโยชน์ต่อสังคมไม่

ศัพท์ Privatisation มีคำตรงกันข้ามคือ Nationalisation (การโอนกิจการเป็นของรัฐ)
- Nationalisation มีรากฐานปรัชญาอยู่ที่แนวคิด "สังคมนิยม (Socialism)" ที่สมบัติทุกอย่างควรเป็นของสังคม รัฐคือตัวแทนของสังคม
- Privatisation มีรากฐานปรัชญาอยู่ที่แนวคิด Neo-Liberalism ที่ เอกชนควรเป็นเจ้าของสมบัติ รัฐเป็นเพียงคนรักษากติกา การแข่งขันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ มีศัพท์ที่เกี่ยวข้องคือ Liberalisation (การเปิดเสรี)
ส่วนแนวคิดที่ว่า กิจการอะไรควรให้สังคมเป็นเจ้าของนั้น ดูที่ว่ากิจการนั้นเป็น Natural Monopoly หรือไม่ ที่การผูกขาดทำให้ต้นทุน Average cost ลดต่ำลง กว่า Marginal Cost ซึ่งการผูกขาดทำให้เกิดประสิทธิภาพ ธุรกิจหนึ่งอาจมีกิจกรรมที่เป็นทั้งสินค้าปกติ และกิจกรรมที่มีลักษณะ Natural Monopoly ซึ่ง มีศัพย์อีกตัวคือ Regulator เป็นผู้กำกับกิจการนี้ ไม่ให้ Firm ตั้งราคาสูงกว่า Average Cost
อุปสรรค ของการแปรรูปที่ทำให้ด้อยประสิทธิภาพเท่าที่จำได้สองข้อคือ Barrier to entry ทำให้เจ้าของกิจการเอกชนครอบครองตลาดได้ อีกข้อหนึ่งคือ Capture คือ การที่ผู้อยู่ในวงการธุรกิจภายใต้การกำกับดูแล เข้าไปมีอิทธิพลต่อ Regulator เช่น ตั้ง คนจาก กฟผ. ไปเป็น Regulator ทำให้พวกนี้กำหนดนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อ กฟผ. ส่วนข้ออื่นๆ อีกสามข้อจำไม่ได้แล้ว