ความหมายของรัฐวิสาหกิจ
ความหมายของคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ที่ใช้เป็นหลักและอ้างอิงอยู่เสมอ คือ ความหมายของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ซึ่งสรุปไว้ว่ารัฐวิสาหกิจ คือ องค์กรของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 (เช่นบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) ดังนั้น รัฐวิสาหกิจจึงเป็นหน่วยงานทางธุรกิจหรือกิจการของรัฐที่มีภารกิจในการให้บริการสาธารณะ ด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมรวมถึงเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐบาลจากภารกิจของรัฐวิสาหกิจข้างต้น จึงทำให้รัฐวิสาหกิจมี ลักษณะองค์การและการดำเนินงานที่มีลักษณะผสมระหว่างกิจการเอกชนต้องมีความคล่องตัว ในการดำเนินงาน และมีเป้าหมายคือกำไรในการดำเนินงานอันเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจ กับการเป็นหน่วยงานของรัฐแบบมหาชนซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐที่ต้องดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ของกฎหมายและ มี เป้าหมายคือผลประโยชน์ต่อส่วนรวมอันเป็น เป้าหมายทางสังคม
รัฐวิสาหกิจ (state enterprise) คือ ธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ คือ เป็นของส่วนรวมเป็นของคนไทยทุกคน ตัวอย่างของรัฐวิสาหกิจ เช่น รถเมล์ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง ไปรษณีย์
ความเป็นมาของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจในประเทศไทยเริ่มมีการจัดตั้งตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475ซึ่งรัฐบาลไทยในขณะนั้นและต่อมามีนโยบายให้จัดตั้งรัฐวิสาหกิจดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านอุปโภคบริโภคของประชาชนให้เพียงพอและเพื่อบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ให้เจริญก้าวหน้า โดยในขณะนั้นภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและความสามารถ ซึ่งมีผลทำให้มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100กว่าแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการบัญญัติพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่เปิดโอกาสให้รัฐบาลจัดตั้งรัฐวิสาหกิจตามที่รัฐบาลเห็นสมควร เพื่อเข้าไปแทรกแซงในเศรษฐกิจหลายสาขาได้โดยสะดวกแต่อย่างไรก็ตามต่อมาในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤธดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายจากการแทรกแซง ของรัฐในภาคเศรษฐกิจมาเป็นการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจต่อภาคเอกชนและ ต่างประเทศโดยรัฐเป็นเพียงผู้คุ้มกัน ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายนี้ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1พ.ศ. 2504-2509 ขึ้นอีกด้วยซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนครั้งแรก ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเปลี่ยนแปลงไปทำให้ภาคเอกชนมีความสามารถมากขึ้น มีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุนและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่รัฐวิสาหกิจต่าง ๆที่ตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาลส่วนหนึ่งนั้นประสบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิต การตลาดและการคลังความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร
องค์การและบริหารงานบุคคล รวมถึง มีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อดูแลรัฐวิสาหกิจทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นไม่สามารถตอบสนองนโยบาย ในอันที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาฯได้เท่าที่ควรในขณะเดียวกันที่ภาคเอกชนได้พัฒนากิจการของตนให้มีประสิทธิภาพล้ำหน้ากิจการรัฐวิสาหกิจจึงทำให้รัฐบาลสมัยนั้นต้องทบทวนว่ารัฐวิสาหกิจใดที่รัฐสมควรดำเนินกิจการต่อไปกิจการใดควรคืนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการจึงได้ดำเนินการลดจำนวนรัฐวิสาหกิจลงและนโยบายนี้ก็ได้ดำเนินการต่อๆมาจนกระทั่งในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจคงเหลืออยู่จำนวน 66 แห่ง (โดยไม่นับรวมบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) จากเดิมที่มี 100 กว่าแห่ง
องค์การและบริหารงานบุคคล รวมถึง มีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อดูแลรัฐวิสาหกิจทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นไม่สามารถตอบสนองนโยบาย ในอันที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาฯได้เท่าที่ควรในขณะเดียวกันที่ภาคเอกชนได้พัฒนากิจการของตนให้มีประสิทธิภาพล้ำหน้ากิจการรัฐวิสาหกิจจึงทำให้รัฐบาลสมัยนั้นต้องทบทวนว่ารัฐวิสาหกิจใดที่รัฐสมควรดำเนินกิจการต่อไปกิจการใดควรคืนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการจึงได้ดำเนินการลดจำนวนรัฐวิสาหกิจลงและนโยบายนี้ก็ได้ดำเนินการต่อๆมาจนกระทั่งในปัจจุบันรัฐวิสาหกิจคงเหลืออยู่จำนวน 66 แห่ง (โดยไม่นับรวมบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) จากเดิมที่มี 100 กว่าแห่ง
จากจำนวนรัฐวิสาหกิจ 66 แห่ง (โดยไม่นับรวมบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ) เป็นองค์กรอิสระ 2 แห่ง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถแบ่งตามสาขาเศรษฐกิจได้ 9 สาขา ดังนี้
1. สาขาพลังงาน 4 แห่ง
2. สาขาขนส่ง 14 แห่ง
3. สาขาสื่อสาร 3 แห่ง
4. สาขาสาธารณูปการ 4 แห่ง
5. สาขาอุตสาหกรรม 11 แห่ง
6. สาขาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 10 แห่ง
7. สาขาสังคมและเทคโนโลยี 7 แห่ง
8. สาขาพาณิชยกรรมและบริการ 8 แห่ง
9. สาขาสถาบันการเงิน 5 แห่ง
2. สาขาขนส่ง 14 แห่ง
3. สาขาสื่อสาร 3 แห่ง
4. สาขาสาธารณูปการ 4 แห่ง
5. สาขาอุตสาหกรรม 11 แห่ง
6. สาขาเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ 10 แห่ง
7. สาขาสังคมและเทคโนโลยี 7 แห่ง
8. สาขาพาณิชยกรรมและบริการ 8 แห่ง
9. สาขาสถาบันการเงิน 5 แห่ง
ข้อดี ข้อเสีย รัฐวิสาหกิจ State Enterprise
รัฐวิสหาหกิจ หมายถึง องค์การหรือธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือ รัฐวิสาหกิจมีหุ้นอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50กิจการของวิสาหกิจเอชนบางชนิด เกิดจากการที่รัฐเข้าแทรกแซงในการให้บริการ และกำหนดราคาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพราะกิจการบางอย่างการแข่งขันโดยเสรีไม่อาจเป็นไปได้ เช่น การเดินรถประจำทาง แม้เอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินงาน แต่รัฐเข้าควบคุมการให้สัมปทาน หรือกำหนดราคาค่าโดยสาร เพื่อป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนบางกรณีการควบคุมไม่บังเกิดผล รัฐต้องดำเนินงานเองในรูปรัฐวิสาหกิจ และกิจการบางกิจการต้องอาศัยสิทธิและอำนาจตามกฏหมายที่มอบให้แก่รัฐบาลโดยเฉพาะ หรือต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ รัฐมักทำกิจการเอง เนื่องจากเหตุเกี่ยวกับสวัสดิการของสังคม เหตุผลทางเศรษฐกิจ เหตุผลทางการปกครอง และ
ทางการทหาร ซึ่งเป็น ข้อดี ของรัฐวิสาหกิจ ข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ คือ
รัฐวิสหาหกิจ หมายถึง องค์การหรือธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ รวมทั้งบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการและ/หรือ รัฐวิสาหกิจมีหุ้นอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50กิจการของวิสาหกิจเอชนบางชนิด เกิดจากการที่รัฐเข้าแทรกแซงในการให้บริการ และกำหนดราคาค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพราะกิจการบางอย่างการแข่งขันโดยเสรีไม่อาจเป็นไปได้ เช่น การเดินรถประจำทาง แม้เอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินงาน แต่รัฐเข้าควบคุมการให้สัมปทาน หรือกำหนดราคาค่าโดยสาร เพื่อป้องกันความเดือดร้อนของประชาชนบางกรณีการควบคุมไม่บังเกิดผล รัฐต้องดำเนินงานเองในรูปรัฐวิสาหกิจ และกิจการบางกิจการต้องอาศัยสิทธิและอำนาจตามกฏหมายที่มอบให้แก่รัฐบาลโดยเฉพาะ หรือต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ รัฐมักทำกิจการเอง เนื่องจากเหตุเกี่ยวกับสวัสดิการของสังคม เหตุผลทางเศรษฐกิจ เหตุผลทางการปกครอง และ
ทางการทหาร ซึ่งเป็น ข้อดี ของรัฐวิสาหกิจ ข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ คือ
1. สมรรถภาพ : การบริหารมักถูกควบคุมด้วยระเบียบปฏิบัติ ทำให้งานล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์ การควบคุมบั่นทอนความรับผิดชอบและความคิดริเริ่ม การบริหารงานมักพิจารณาตัวบุคคล มากกว่าการคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ การดำเนินนโยบายจึงเป็นการวางแผนเฉพาะหน้ามากว่าการวางแผนระยะยาว
2. ประสิทธิภาพ : ส่วนมากขาดประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารงานขาดความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจ ต้นทุนการผลิตสูง เพราะต้องซื้อวัตถุดิบราคาสูงกว่ารัฐวิสาหกิจเอกชน และพนักงานมาเกินความจำเป็นการที่รัฐวิสาหกิจล้มเหลว นอกจากจะส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าด้วยราคาที่สูงแล้วยังต้องรับภาระภาษีอากรเพิ่มด้วย
2. ประสิทธิภาพ : ส่วนมากขาดประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารงานขาดความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจ ต้นทุนการผลิตสูง เพราะต้องซื้อวัตถุดิบราคาสูงกว่ารัฐวิสาหกิจเอกชน และพนักงานมาเกินความจำเป็นการที่รัฐวิสาหกิจล้มเหลว นอกจากจะส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าด้วยราคาที่สูงแล้วยังต้องรับภาระภาษีอากรเพิ่มด้วย
ระบบเศรษฐกิจ แบ่งออกได้ 3 ระบบ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม capital Economic System เป็นระบบที่ปัจจัยและการลงทุนเป็น
กรรมสิทธิของเอกชน ผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม Socialist Capital Economics System เอกชนมีสิทธิ์ในการใช้
ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม Mixed Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยม
และสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง
กรรมสิทธิของเอกชน ผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม Socialist Capital Economics System เอกชนมีสิทธิ์ในการใช้
ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม Mixed Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุนนิยม
และสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น