จรรยาบรรณของการวิจัย
จรรยา แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ บรรณ แปลว่า ข้อความ หนังสือ สิ่งที่ประมวลเข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ จรรยาบรรณ แปลว่า ข้อกำหนดที่ควรประพฤติ [1][14]
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 254 จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ [2][15]
ส่วนสมภพ ชีวรัฐพัฒน์ ให้ความหมายของจรรยาบรรณว่า จรรยาบรรณ คือ ข้อกำหนดหรือระเบียบข้อบังคับสำหรับบุคคลในแต่ละอาชีพพึงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อชื่อเสียง เกียรติ และคุณธรรมของสมาชิก และของสถาบันแห่งอาชีพนั้นๆ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม [3][16]
รองศาตราจารย์สุชาตา ชินะจิตร ได้อธิบายความหมายของจรรยาบรรณว่า เป็นหลักควบคุมความประพฤติ เป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำในวิชาชีพ เป็นประมวลความประพฤติที่ประกอบอาชีพการทำงานกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิกในวงวิชาชีพ [4][17]
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้ให้ความหมายของจรรยาบรรณไว้ในหนังสือศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคมไว้ว่า หลักความประพฤติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชะประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน [5][18]
จะเห็นได้ว่า ความหมายของจรรยาบรรณจากทั้งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และจากนิยามของบุคคลต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น ล้วนแต่มีความหมายที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก ซึ่งจรรยาบรรณก็เป็นหลักพื้นฐานในการควบคุมความประพฤติของผู้ที่อยู่ในสังกัดงานต่างๆ ให้เป็นข้อยึดเหนี่ยวให้เราได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้ เมื่อเราสามารถปฏิบัติได้ตามจรรยาบรรณที่ได้กำหนดก็ถือว่า เราเป็นคนที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณวิชาชีพ ( Professional code of ethics )
สรุปแล้วจรรยาบรรณในการทำวิจัย
เป็นหลักประพฤติ ปฏิบัติ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ทำงานวิจัยให้ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเห็นว่า จรรยาบรรณหลักของนักวิจัย 9 ประการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ล้วนแล้วแต่ข้อกำหนดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับตัวผู้ทำวิจัย โดยที่ข้อกำหนดทั้ง 9 ข้อมีความครอบคลุมทั้งตัวผู้วิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคนและสัตว์ที่มักจะถูกมาใช้ในการวิจัยอยู่เสมอๆ เมื่อนักวิจัยกระทำผิดหรือละเว้นข้อกำหนดในข้อใดแล้ว ก็ถือว่านักวิจัยคนนั้นไม่มีจรรยาบรรณในการทำวิจัย ซึ่งจะทำให้ผลงานการวิจัยอาจจะไม่มีความยุติธรรม เที่ยงตรง ข้อมูลในการวิจัยอาจจะไม่มีความน่าเชื่อถือและอาจจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
ฉะนั้นจึงทำให้ต้องมีการกำหนดจริยธรรมและจรรยาบรรณของการวิจัย จริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิจัย จริยธรรมและจรรยาบรรณของผลงานวิจัย ก็เพื่อให้ผลงานวิจัยออกมาเป็นงานวิจัยที่ดีมีคุณภาพ สามารถนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ โดยที่สามารถนำมาอ้างอิงได้อย่างถูกต้องไม่มีปัญหาในเรื่องของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังทำให้นักวิจัย เป็นคนที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติที่ดี เหมาะสมกับเป็นผู้ที่คอยผลิตผลงานและข้อมูลที่มีความเป็นกลางออกสู่สาธารณะชนได้อย่างเต็มความสามารถ และมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
การป้องกันอันตรายทั้งทางร่างกายและจิตวิทยาจะต้องไม่ฝ่าฝืนกฎ ซึ่งทำให้เชื่อมั่นว่า ผลลัทธ์ของการวิจัยมีเพียงพอ และมีหลักฐานจากสิ่งที่ค้นพบอย่างเหมาะสม ข้อสรุปและการแนะนำจะต้องเป็นปัจจุบัน
คำเตือน
สิ่งที่ทำให้เงินสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนโยกย้ายนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความประพฤติว่ามีจรรยาบรรณในหรือไม่ก่อนทำวิจัย โดยมีการตั้งคณะกรรมการปกป้องมนุษย์ในการเสนอธุรกิจจากมนุษย์ จะทำให้แน่ใจว่ามนุษย์จะทำถูกกฎ โดยมีแนวทางสำหรับวิจัยจากการใช้สัตว์
ข้อดี
ผู้สนับสนุนการวิจัยจะไม่ผิด
ถ้ามีการปฏิบัติจรรยาบรรณในการวิจัย ก็จะได้รับเงินทุนจากภาครัฐหรือเอกชนอย่างง่ายดาย
การวิจัยจะต้องพบกับคณะกรรมการจัดตั้งแนวทางปฏิบัติสำหรับจรรยาบรรณ
จะยกระดับชื่อเสียงของนักวิจัย
ข้อเสีย
ใช้เวลามากในการให้ความเห็นชอบและมีรูปและที่เหมาะสมอย่างสมบูรณ์
บางครั้งผู้เห็นชอบไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำวิจัย
จรรยาบรรณของนักวิจัยในการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ในการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ นักวิจัยต้องพิจารณาแล้วว่าไม่มีวิธีใดเหมาะสมเท่าหรือเหมาะสมกว่าจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองตามประกาศของสภาวิจัยแห่งชาติมีประเด็นสำคัญโดยสรุป 5 ประการดังต่อไปนี้ [6][23]
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าชีวิตของสัตว์
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด
การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า
ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์
ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน
ตัวอย่างปัญหาจรรยาบรรณ
หนังสือ ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม ของพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้พูดถึงตัวอย่างปัญหาจรรยาบรรณ 7 ประการ ที่นักวิจัยทางสังคมศาสตร์และการเมืองมักจะเผชิญ ไว้ดังนี้คือ [7][24]
การหลอกลวงในการวิจัยทั้งทางตรงและทางอ้อม
การกระทำการต่อหน่วยศึกษาวิจัยให้ได้รับอันตรายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การเปิดเผยความลับส่วนบุคคล
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
การแทรกแซงของรัฐและสังคม
การละเมิดคุณธรรมทางวิชาการ
การใช้ผลการวิจัยสนับสนุนกรณีต่างๆทางการเมืองและสังคม
ตัวอย่างของพฤติกรรมที่นักวิจัยกระทำผิดจรรยาบรรณ
ในหนังสือคุณสมบัติและจรรยาบรรณของนักวิจัยของจิตราภา กุณฑลบุตร ได้เขียนถึงตัวอย่างของพฤติกรรมที่นักวิจัยกระทำผิดจรรยาบรรณที่มักพบบ่อยๆไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไรก็ตามมีดังต่อไปนี้ [8][25]
1. การเลียนแบบชื่อเรื่องวิจัย โดยเปลี่ยนสถานที่เก็บข้อมูลหรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างของการเก็บข้อมูล มีหลายโครงการที่มีการทำวิจัยลักษณะนี้ ส่งผลให้การเขียนรายงานวิจัยมีความคล้ายคลึงจนดูเสมือนว่าลอกเลียนกัน โดยอาจมีการปรับข้อความบางข้อความเพียงเล็กน้อยในสาระต่อไปนี้ ความสำคัญและความเป็นมา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและวิธีดำเนินการวิจัย บางครั้งก็มีกรอบความคิดที่เหมือนกัน โดยไม่มีการแจ้วถึงที่มาของกรอบความคิดนั้น
2. การนำข้อมูลต่างๆมานำเสนอในรายงานวิจัย โดยมิได้อ้างอิงแหล่งข้อมูล ทั้งข้อมูลจากเอกสารรายงาน บทความ สื่ออิเลคทรอนิคส์หรือการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะข้อมูลที่มาจากแหล่งทุติยภูมิที่เป็นข้อมูลจากเอกสาร หนังสือหรือวารสารต่างประเทศ
3. การขอทุนวิจัยซ้ำซ้อนจากแหล่งทุนมากกว่าหนึ่งแหล่งทุน โดยมิได้แจ้งให้แต่ละแหล่งทุนทราบว่ากำลังขอทุนจากแหล่งทุนอื่น หรือเสนอจอรับทุนในแต่ละแหล่งด้วยประเด็นหรือกิจกรรมอะไร ไม่มีการอธิบายให้ชัดเจนว่าการได้รับทุนการวิจัยแต่ละแหล่งจะหนุนเสริมกันอย่างไร ให้การทำงานวิจัยโครงการนั้นๆให้มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการขอทุนจากแหล่งทุนเดียว
4. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจโดยบุคคลที่มีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยมิได้รับทราบหรือให้ความยินยอมหรือการที่นักวิจัยสองคน นำผลงานชิ้นเดียวกันไปขอตำแหน่งทางวิชาการต่างคนต่างวาระ โดยที่สองฝ่ายลงรามรับรองให้กันและกัน
5. การไม่ทุ่มเทความรู้ ความสามารถและเวลาให้กับการทำวิจัยเต็มที่ นักวิจัยมักอ้างว่ามีภาระงานอื่นมาก บางครั้งไปเร่งรัดดำเนินการเมื่อใกล้ถึงเวลาส่งงาน หรือจ้างวานบุคคลอื่นทำ โดยมิได้ตรวจสอบผลการดำเนินงานแล้วใส่ชื่อตนเองรับผิดชอบ
6. การเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังจะให้ข้อค้นพบจากงานวิจัย ตอบรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือหวังประโยชน์ส่วนตน
7. การทำหลักฐานการเงินคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
8. การนำผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปปรับเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยใหม่ นำไปตีพิมพ์หรือนำไปอ้างอิงโดนมีระบุชื่อเจ้าของงาน
9. การนำผลงานวิจัยไปลงพิมพ์ในวารสารหลายฉบับ โดยปรับปรุงเพียงเล็กน้อย แต่สาระสำคัญเหมือนกัน
10. การส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอของผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจผลงาน และมิได้แจ้งเหตุผลของการมิได้ปรับปรุงแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น