1. แนวคิดของทฤษฎีเสรีนิยม ( ทุนนิยม )
แนวคิดเสรีนิยม เป็นกลุ่มนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วง 25ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันโดยคำว่า เสรีนิยม มีการใช้อย่างแพร่หลายในนานาความหมาย อาทิเช่น แนวคิด ทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือแนวคิดทางศาสนา เป็นต้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เสรีนิยมทางการเมือง เป็นนโยบายเพื่อป้องกันการขัดแย้งทางสังคม สำหรับคนจนและชนชั้นกรรมาชีพ ถือเป็นแนวคิดที่ก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดเชิงอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายขวา แต่เมื่อนำมาปรับใช้กับสภาพเศรษฐกิจจะให้ผลกระทบต่อสังคมที่ต่างออกไปเพราะมาจากรากฐานที่ต่างกัน
แนวคิดเสรีนิยมทางเศรษฐกิจเข้ามาถึงสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ.1800 -1900
โดยในปี ค.ศ.1930 ได้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ นักเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ ได้สร้างทฤษฎีที่เป็นเรื่องแปลกใหม่โดยอาศัยแนวคิดเสรีนิยม แนวคิดนี้เป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนมีสาระสำคัญ ได้แก่ การจ้างงานอย่างเต็มรูปแบบ การไม่มีข้อบังคับทางการผลิต ไม่มีข้อกีดกัน ทางการพาณิชย์ ไม่มีภาษีอากร โดยกล่าวว่า การค้าเสรีเป็นวิธีการดีที่สุดที่จะทำให้เศรษฐกิจของชาติพัฒนาความเป็นเสรีในแง่ของการไม่มีการควบคุมใด ๆ การนำแนวคิดแบบปัจเจกชน มาประยุกต์ใช้ และสนับสนุนให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแข่งขันเสรี แนวคิดเหล่านี้นำไปสู่การวางนโยบายของประธานาธิบดีรุสเวลที่ทำให้ระยะแรกชีวิตของผู้คนจำนวนมากดีขึ้น ทำให้ช่วงนั้นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
แต่ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เมื่อก้าวเข้าสู่โลกาภิวัฒน์ เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงสังคมโลกเข้าด้วยกัน แนวคิดเสรีนิยมจึงได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่ อาจกล่าวได้ว่ามีการปฏิรูปขึ้นมาใหม่ให้ทันต่อยุคสมัย โดยเรียกว่า Neo - Liberalism (แนวคิดเสรีนิยมสมัยใหม่) เป็นโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่เติบโตอย่างรวดเร็วในระดับโลก
ประเด็นสำคัญของแนวคิดเสรีนิยมสมัยใหม่ทางเศรษฐกิจ
มี 4 ประการ คือ
-กฎเกณฑ์ของตลาด คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการทำให้รัฐวิสาหกิจไม่มีพันธะใด ๆ ต่อรัฐ การเปิดกว้างให้กับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น
- การตัดลดรายจ่ายสาธารณะทางด้านบริการสังคม เช่น การศึกษาและการสาธารณสุข หรือแม้แต่การซ่อมบำรุงถนน สะพาน น้ำประปา โดยอ้างว่าเป็นการลดบทบาทของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดีกลับไม่คัดค้านการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ ให้กับกลุ่มภาษีทางธุรกิจ
- การตัดลดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของรัฐบาลในทุกเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อผลกำไร เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการปลอดภัยในการทำงาน
- การแปรรูรัฐวิสาหกิจขายรัฐวิสาหกิจ สินค้าและบริการที่รัฐเป็นเจ้าของให้กับเอกชน เช่น ธนาคาร อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ถนน ทางรถไฟ ทางหลวงที่เก็บค่าผ่านทาง ไฟฟ้า เป็นต้นโดยอ้างเหตุผลว่าทำไปเพื่อเพิ่มประสิทธิ แต่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น กลับทำให้เกิดการกระจุกตัวของความมั่งคั่งที่รุนแรงขึ้นในมือของคนไม่กี่คนและทำให้ และแทนด้วยคำว่า ความรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวกดดันให้คนที่มีฐานะยากจนที่สุดไปหาทางออกเอาเอง ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะถูกกล่าวหาว่า เกียจคร้าน
แนวคิดดังกล่าวนี้ มีการแพร่ขยายไปทั่วโลก สืบเนื่องจากการนำมาใช้โดยสถาบันทางการเงินที่ทรงอำนาจ เช่น IMF Worldbank ฯลฯ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้สำหรับประเทศไทย ที่ในที่สุดก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่กับสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เป็นอยู่ก็สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่นากนัก กับการที่คนในประเทศต่างพออยู่พอกินโดยไม่ต้องดำเนินตามแนวคิดของต่างประเทศมากนัก เพียงแต่คนไทยคงจะต้องกลับมายอมรับการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความพอเพียงที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และตนเองก็มีความสุขได้บนความเพียงพอที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น