วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

การวิจัย

การวิจัย (Research) คือ  เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ค้นหาสาเหตุหรือที่มาของปัญหาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) คือ วิธีการค้นหาคำตอบจะทำเป็นกระบวนการ ใช้ค้นหาคำตอบ
ทฤษฎี (Theory) คือ ผลของการวิจัยที่น่าเชื่อถือจะต้องอาศัยเครื่องมือในการพิสูจน์ ใช้พิสูจน์คำตอบ
ทฤษฎีกับงานวิจัย เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผนและออกแบบงานวิจัย (Research design) และขั้นตอนการอธิบายคำตอบหรือสนับสนุนคำตอบของงานวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นแบบแผนของการวิจัย ที่เริ่มตั้งแต่ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง ( Experiment  Research  Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ( Descriptive  Research  Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยมีผู้สำรวจไว้แล้ว หรือผู้วิจัยทำการสำรวจเอง
ประเภทของการวิจัย (Type of Research)
การวิจัยแบบทดลอง (Experimental Research ) เป็นการวิจัยที่มีการควบคุมลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หนึ่งไว้เพื่อดูผลว่าจะเป็นอย่างไร
การวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่ต้องอาศัย การรวบรวมข้อมูล   เพื่อนำมาอธิบายหรือสรุปผลปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
การวิจัยประวัติศาสตร์ (Historical  Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอดีต ซึ่งจะเน้นหนักในการตรวจสอบ เป็นอะไรในอดีต
การวิจัยปัจจุบัน(Current  Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความจริง/สาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นอะไรในปัจจุบัน
ขั้นตอนการทำวิจัย
1.             กำหนดเรื่อง/หัวข้อที่จะทำวิจัย
1.1      เลือกปัญหา
แนวทางในการเลือกปัญหาเพื่อทำวิจัย
เรื่องที่ควรทำวิจัย
การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย
1.2      วิเคราะห์ปัญหา
ที่มาของปัญหา สิ่งที่ต้องการทราบจากการวิจัย
ขอบเขตการวิจัย
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย(ทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย)
ข้อความหรือคำที่เป็นปัญหา
คาดคะเนผลการวิจัย
2.             วางแผนงานและออกแบบงานวิจัย
2.1      ระเบียบวิธีวิจัย
2.2      เครื่องมือวิธีวิจัย
2.3      วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.4      การวิเคราะห์ข้อมูล
2.5      กำหนดแผนการดำเนินการ
2.6      เขียนโครงการ

บทนำ
        ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย
        ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของการวิจัย ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
        นิยามศัพท์เฉพาะ
แนวคิดและทฤษฎีตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
        ตัวแบบ/กรอบคิดในการวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้
        รูปแบบการวิจัย(ระเบียบวิธีวิจัย) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล วิธีการเลือกตัวอย่าง
        วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
เอกสารอ้างอิง
3.             เก็บรวบรวมข้อมูล
3.1      เตรียมการ สร้างเครื่องมือ/ออกแบบสอบถาม จัดทำคู่มือการลงรหัส
3.2      ปฏิบัติการ ในห้องทดลอง/ภาคสนาม
4.              วิเคราะห์ข้อมูล (เป็นหัวข้อในการอบรมครั้งนี้)
4.1      วิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น การบรรยายลักษณะกลุ่มตัวอย่าง
4.2      วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์/ทดสอบสมมติฐาน
เป็นการวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้             และจะได้              หัวข้อสำหรับเขียนรายงานดังนี้
ที่มาของงานวิจัย                                                                  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สิ่งที่ต้องการทราบจากการวิจัย                                          วัตถุประสงค์ของการวิจัย    ประโยชน์
( Research Question )                                                       ( Research Objective )
ขอบเขตของการวิจัย                                                           ประชากร ตัวอย่าง
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย                                                   ตัวแปรในการวิจัย กรอบแนวคิด
ข้อความหรือคำที่เป็นปัญหา                                             นิยามศัพท์ เฉพาะ
คาดคะเนผลการวิจัย                                                           สมมติฐานของการวิจัย (Research  Hypothesis)
5.             เขียนรายงานการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 3 สมมติฐานและตัวแบบงานวิจัย
บทที่ 4 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 5 รายงานผลการวิจัย เสนอผลการวิเคราะห์และอธิบาย/สรุป โดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็น
บทที่ 6 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย จุดมุ่งหมาย วิธีการวิจัย ผลการวิจัยหรือสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย
อภิปรายผล อธิบายให้เหตุผลของสิ่งที่พบโดยยึดทฤษฎีเป็นแนวทาง
ข้อเสนอแนะ การใช้ผลการวิจัย สิ่งที่อาจจะทำวิจัยเพิ่มเติม
                เอกสารอ้างอิง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้จาก การวิเคราะห์สิ่งที่ต้องการทราบจากการวิจัย ซึ่งอาจจะเรียกกันว่า คำถามในการวิจัย ( Research Question)
กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย เป็นการนำแนวคิด และ ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งนิสิตศึกษามาสนับสนุนงานนิพนธ์ของนิสิต เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่จะทำต่อไป มีที่มาอย่างไร มีทฤษฎีอะไรบ้าง ใครเคยศึกษาไว้แล้ว ได้ผลอย่างไร และ นิสิตจะศึกษา แตกต่างไปจากผู้ที่เคยศึกษาไว้อย่างไร นิสิตจะต้องผสมผสาน ทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และ แนวคิดของนิสิต เอง มาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
สมมติฐานของการวิจัย ได้จาก การวิเคราะห์หรือคาดคะเนผลของการวิจัย ซึ่งจะเป็นการคาดเดาผลงานวิจัย โดยในการคาดคะเนหรือการคาดเดานั้นจะต้องมีเหตุผลในการคาดเดา ผู้วิจัยจะต้องอธิบายได้ว่าทำไมต้องมีการคาดคะเนหรือคาดเดาอย่างนั้น สมมติฐานมีความสำคัญต่อการวิจัยมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการที่จะหาคำตอบของงานวิจัยนั้น นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทางและขอบเขตของการเก็บข้อมูล ในงานวิจัยหนึ่งๆ อาจจะมีการกำหนดสมมติฐานไว้หลายสมมติฐาน ผู้วิจัยแต่ละคนอาจจะกำหนดสมมติฐานไว้แตกต่างกันถึงแม้นจะทำวิจัยเรื่องเดียวกันก็ตาม ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ความเชื่อ ทัศนคติที่แตกต่างกัน  สมมติฐานอาจกำหนดไว้หลายข้อ

สถิติกับงานวิจัย
สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics)
สถิติอนุมาน (Inference  Statistics)
สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) หรือค่าสถิติเบื้องต้น(พื้นฐาน)
การนำเสนอข้อมูล ( Presentation )
การแจกแจงความถี่ ( Frequencies )
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ( Measure Central of Tendency)
                การหาค่าเฉลี่ย (Mean) แบบต่างๆ A.M  , G.M  , H.M
       การหาค่าฐานนิยม (Mode)
การหาค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูล Median, Quartiles, Deciles, Percentiles, N-Tiles
การหาค่าการกระจายของข้อมูล ( Dispersion ) Range, Quartiles Deviation ,
Mean Deviation, Standard Deviation, Coefficient  Variation
สถิติอนุมาน (Inference  Statistics) คือการนำข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างหรือบางส่วนของประชากร มาศึกษาเพื่อหาค่าสถิตินำไปสรุปผลลักษณะของกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมด
ค่า Statistics และ ค่า Parameter

ค่าที่ทำการคำนวณ
ค่า Statistics
ค่า Parameter
ค่าเฉลี่ย (Mean)
µ
ค่าสัดส่วน (Proportion)
p
π
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ค่าความคาดเคลื่อน(Standard error)
s
σ
ค่าความสัมพันธ์ (Correlation)
r
ρ
ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression)
b
β

การอนุมานทางสถิติ คือ การศึกษาค่าสถิติเพื่อไปอธิบายค่าพารามิเตอร์
การอนุมานแบบพาราเมตริก (Parametric)
ข้อมูลอยู่ในระดับ  Interval /Ratio
ทราบการแจกแจงของข้อมูล
ข้อมูลมีจำนวนมาก
การประมาณค่า(Estimation) กำหนดขนาดตัวอย่าง
การทดสอบสมมติฐาน ( Hypothesis Testing )
การหาความสัมพันธ์ ( Correlation & Association )
การวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร ( Multivariate Analysis)
การอนุมานแบบน็อนพาราเมตริก (Non-Parametric)
ข้อมูลอยู่ในระดับ  Nominal / Ordinal
ไม่ทราบการแจกแจงของข้อมูล
ข้อมูลมีจำนวนน้อย
การตรวจสอบเครื่องมือและข้อมูล
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
                ความเชื่อถือได้ หรือ ความเชื่อมั่น(Reliability) ของเครื่องมือ
ความแม่นยำ หรือ ความตรง (Validity) ของเครื่องมือ
การตรวจสอบ ข้อมูลที่ผิดปกติ
ค่าที่แตกต่างจากค่าอื่นๆมาก(Outlier)
การตรวจสอบการแจกแจงของข้อมูล
                การตรวจสอบว่าเป็นการแจกแจงแบบปกติหรือไม่
การประมาณค่า ( Estimation )
การประมาณค่าแบบจุด ( Point Estimation ) 
                ประมาณค่าเฉลี่ย
                ประมาณค่าสัดส่วน
การประมาณค่าแบบช่วง ( Interval Estimation ) 
                ประมาณค่าเฉลี่ย
                ประมาณค่าสัดส่วน
การเลือกตัวอย่าง ( Sampling )
แบบใช้ความน่าจะเป็น ( Probability Techniques ) 
                แบบสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling)            แบบแบ่งกลุ่ม(Stratified Sampling)
แบบมีระบบ (Systematic  Sampling)            แบบกลุ่ม (Cluster  Sampling)   แบบอื่นๆ
แบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Non Probability Techniques )
แบบตามสะดวก(Convenience Sampling)
                แบบใช้เกณฑ์ผู้วิจัย(Purposive Sampling)
แบบกำหนดโควต้า(Quota Sampling)
                แบบสโนว์บอล(Snowball Sampling)
การกำหนดขนาดตัวอย่าง ( Sampling )
ใช้แนวทางของความน่าจะเป็น
ใช้แนวทางของการทดสอบสมมติฐาน
ใช้แนวทางของการประมาณค่า
จากการประมานค่าเฉลี่ย
จากการประมานค่าสัดส่วน
สิ่งที่ต้องกำหนดไว้ก่อนการกำหนดขนาดตัวอย่าง
กำหนดช่วงความเชื่อมั่นของการประมาณค่า
กำหนดระดับความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (Testing Hypothesis)
กำหนดสมมติฐานทางสถิติ
กำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการทดสอบ
เลือกวิธีการทดสอบทางสถิติที่เหมาะสม
สร้างขอบเขตของการตัดสินใจ
คำนวณค่าสถิติจากข้อมูลตัวอย่าง
ตัดสินใจ ปฏิเสธ หรือ ยอมรับสมมติฐาน
สรุปผล


การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับ ค่าเฉลี่ย  &  ค่าร้อยละ (ค่าสัดส่วน)
การทดสอบเกี่ยวกับ  ค่าเฉลี่ย
1 กลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นอิสระต่อกัน
2 กลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กัน
ตั้งแต่ 3 กลุ่มตัวอย่างขึ้นไป
การทดสอบเกี่ยวกับ  ค่าร้อยละ (ค่าสัดส่วน)
1 กลุ่มตัวอย่าง
ตั้งแต่ 2 กลุ่มตัวอย่างขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่าง เป็นอิสระต่อกัน
กลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กัน
 การพยากรณ์ ( Prediction )
1. ใช้ข้อมูลในอดีตที่ต่อเนื่องกัน Time Series Analysis
2. ใช้ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน Regression  Analysis
                2.1 Linear   Regression
2.1.1 Simple     Linear   Regression
2.2.2 Multiple    Linear   Regression
                2.2 Non-Linear   Regression
                2.3 Probit/Logistic   Regression

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น