กรอบแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
ความหมายและแนวความคิด
1.1 Ira Sharkansky
นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
1.2 Thomas R. Dye
นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ ในส่วนที่จะกระทำครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
เราอาจกล่าวได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบการเมืองและนโยบายสาธารณะจะส่งผลกระทบทางใดทางหนึ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน อาทิเช่น สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเช่นปัญหา มลพิษ ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
· เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลจะกระทำหรือไม่กระทำ
· เป็นการใช้อำนาจของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
· ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ประมุขของประเทศ ตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ
· กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย
· กิจกรรมที่เลือกกระทำจะต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม
· เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมากมิใช่การตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล
· เป็นกิจกรรมที่คลอบคลุมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
· เป็นกิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสังคม
สรุป นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมของรัฐบาลที่เลือกจะกระทำหรือไม่กระทำโดยมุ่งถึงค่านิยมและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญโดยเน้นข้อบัญญัติที่ชอบด้วยกฎหมาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
1.ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย
รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือ และความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
2 ความสำคัญต่อประชาชน
นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆเช่น ระบบราชการ นักการเมือง ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
1. นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันกำหนดนโยบาย
· นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน เช่น นโยบายด้านการเมือง นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม
· นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
2.นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระและนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ
· นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ รัฐบาลมีประสงค์ที่จะทำอะไร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือต้นทุนต่อประชาชน หรืออาจทำให้ประชาชนกลุ่มใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เช่น นโยบายการสร้างทางด่วนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นโยบายการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
· นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ลักษณะ จะจะเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้ดำเนินการดังนั้นนโยบายนี้จะคลอบคลุมองค์การที่จะต้องรับผิดชอบการบังคับใช้นโยบาย เช่น นโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
3. นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐและนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมตนเอง
· นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐ ลักษณะโนโยบายประเภทนี้มุ่งเน้นกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นการลดเสรีภาพหรือการใช้ดุลยพินิจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของผู้ถูกควบคุม เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน วัตถุระเบิด นโยบายควบคุมการพนัน นโยบายลดอุบัติเหตุจากการขี่รถจักรยานยนต์
· นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง ลักษณะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนโยบายเน้นการควบคุมโดยรัฐ แต่แตกต่างกันคือ มีลักษณะของการส่งเสริมการป้องกันผลประโยชน์และความรับผิดชอบของกลุ่มตน เช่น พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พรบ. ทนายความ พ.ศ. 2528
4.นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม
· นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ การจำแนกโดยการใช้เกณฑ์การรับผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ เป็นนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้กับประชาชน บางส่วนอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้รับผลประโยชน์อาจจะเป็น ปัจเจกบุคคล กลุ่มคน องค์การ เช่น นโยบายการแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
· นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม เป็นความพยายามของรัฐที่จะจัดสรรความมั่นคง รายได้ ทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม เช่น นโยบายพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 12 ปี นโยบายการจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
5. นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์
· นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ เกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการจัดหาทรัพยากรหรืออำนาจที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสงอุทกภัย นโยบายปรับปรุงชุมชนแออัด
· นโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ เป็นลักษณะของนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุคือเป็นนโยบายที่มิได้เป็นการจัดสรรเชิงวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้แต่เป็นนโยบายมุ่งเสริมสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ประชาชน เช่น นโยบายรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย
6. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยมและ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม เป็นนโยบายที่เกิดจากการผลักดันของกลุ่มความคิดก้าวหน้าที่ต้องการจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความเสมอภาค เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม แนวความคิดกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มชนชั้นของสังคมกลุ่มความคิดเหล่านี้จะเห็นว่าสิ่งที่ดำรงอยู่นั้นดีอยู่แล้วถ้าจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เช่น นโยบายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการ
7. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ คือการกำหนดสินค้าที่ไม่สามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกจากนโยบายได้เมื่อรัฐจัดสรรสินค้านั้นแล้วประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนทุกคนไม่จำกัดบุคคล กลุ่ม เช่น นโยบาย ป้องกันประเทศ นโยบายควบคุมจราจร
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน สินค้าเอกชนสามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ได้และสามารถเก็บค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากผุ้ได้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การเก็บขยะของเทศบาล การไปรษณีย์โทรเลข
ตัวแบบนโยบายสาธารณะ
1.ตัวแบบชนชั้นนำ
หลักการ
· จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายอย่างเด็ดขาด
· ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นหลัก
· ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชน
· ทิศทางการกำหนดนโยบายจึงเน้นทิศทางแบบแนวดิ่ง
คุณลักษณะสำคัญ
· คนในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และคนส่วนมากที่ไม่มีอำนาจ
· คนส่วนน้อยมิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคนส่วนมากคือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า
· การเปลี่ยนแปลงฐานะขึ้นไปสู่ชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
· นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนแต่สะท้อนความต้องการของชนชั้นนำ
· แนวคิดตัวแบบชนชั้นนำยังเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่สนใจการเมือง ความรู้สึกของประชาชนจึงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ
ต.ย. พรบ. ให้คุ้มครองและห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508
1.ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม
คนในสังคมประกอบด้วยกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล มุ่งเรียกร้องการพิทักษ์ความเป็นธรรมของสังคม กลุ่มผลประโยชน์มุ่งรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเพื่อป้องกันการละเมิด “นโยบายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลผลิตของดุลยภาพระกลุ่มโยตรง”Arther F. Bently “การเมืองนั้นเปรียบเสมือนระบบที่มีแรงผลักดันที่กระทำปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ”
คุณลักษณะสำคัญ
· เป็นลักษณะของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคม เรียกว่า “กลุ่มแผงเร้น”
· กลุ่มที่สมาชิกบางส่วนคาบเกี่ยวกัน ลักษณะกลุ่มเช่นนี้จะมีส่วนในการดำรงรักษาดุลยภาพระหว่างกลุ่ม โดยป้องกันมิให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเคลื่อนไหวเกินกว่าผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม
· การตรวจสอบและความสมดุลที่เกิดขึ้นจากกลุ่มที่แข่งขันกันจะมีส่วนช่วยดำรงรักษาความสมดุลระหว่างกลุ่ม
ต.ย. พรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
1. ตัวแบบเชิงระบบ
คุณลักษณะที่สำคัญ
· กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ
· David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน “ชีวิตการเมือง” ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ
· ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ
ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง
- ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม
- การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี “ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน”
ต.ย. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
2.ตัวแบบสถาบัน
· ฐานคติที่ว่า “นโยบายสาธารณะ คือ ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง สถาบันทางการเมืองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
· นโยบายจะถูกกำหนด นำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันหลัก
“ ความสัมพันธ์ของนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบถูกนำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ 3 ประการ
1. สถาบันราชการเป็นผุ้รับรองความชอบธรรมของนโยบายกล่าวคือ นโยบายของรัฐถือว่าเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม
2. นโยบายสาธารณะมีลักษณะคลอบคลุมทั้งสังคมทั้งนี้เพราะนโยบายสาธารณะมีผลต่อประชาชนทั้งสังคม
3. รัฐบาลเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคมคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ
Henry ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธารณะตามตัวแบบสถาบันดังภาพนี้
· นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารได้แก่ นโยบายปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์กับดูแล รักษากติกา วางแผน ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ
· นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติไดแก่ นโยบายที่รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติล้วนมีส่วนเป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติทั้งสิ้นเพราะนโยบายของรัฐจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อได้ผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
5.ตัวแบบกระบวนการ
o การจำแนกปัญหา : การพิจารณาปัญหาจากการเรียกร้องของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐแก้ไขว่าเป็นลักษณะใด เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาชุมชุนแออัดจะต้องนำมาวิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา
o การจัดทำทางเลือกนโยบาย : การกำหนดวาระสำคัญของการอภิปรายนโยบาย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานำไปสู่ทางเลืองนโยบายต้องพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางเลือกนำทำเลือกมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนผลประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่
o การให้ความเห็นชอบของนโยบาย : ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจนโยบายว่าจะเลือกทางใดต้องคำนึงถึงผลที่เกิดและความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและต้องผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
o การนำนโยบายปฏิบัติ : การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์
o การประเมินผลนโยบาย : การศึกษาดำเนินงานของโครงการและการประเมินผล
- สิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า
- กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ผลผลิตของนโยบาย
- ผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย
- ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุง
6. ตัวแบบหลักเหตุผล
ปัจจัยในการใช้ตัวแบบหลักเหตุผล
1. ต้องมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
2. จะต้องจัดเก็บข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมครบถ้วน เที่ยงตรง
3. ต้องมีนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ
4. ต้องมีงบประมาณในการลงทุนเพื่อเป็นต้นทุนจม
ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแบบหลักเหตุผล
1. ต้องกำหนดคุณค่า วัตถุประสงค์ และเกณฑ์การตัดสินใจให้ชัดเจน
2. ต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์
3. ประมาณค่าเบื้องต้นในผลที่คาดหวังของการตัดสินใจ และผลของทางเลือกต่าง ๆว่าควรใช้กลยุทธ์เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อย
4. ถ้าเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อยควรใช้กลยุทธ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่จำกัด ถ้าเลือกกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรมต้องพิจารณาผลที่เป็นไปได้ของทางเลือกต่าง ๆ
5. ใช้ประโยชน์จากความเห็นของนักวิเคราะห์ที่หลากหลาย
6. วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้กรณีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
กรณีศึกษา โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
7. ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน
ฐานคติ นโยบายสาธารณะที่มีลักษณะการกระทำที่ต่อเนื่องจากอดีตเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนหรือส่วนน้อย
คุณลักษณะของตัวแบบ
· เป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือนโยบาย โครงการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเกณฑ์
· ให้ความสนใจต่อนโยบายหรือโครงการใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเล็กน้อย
· ยอมรับความชอบธรรมของนโยบายที่ดำเนินมาก่อนเพราะความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ใหม่
· ถ้ามีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อยู่แล้วจะเป็นข้ออ้างสำคัญในการปฏิเสธนโยบายใหม่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
· การเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมได้ง่ายเพราะผลกระทบมีน้อย
ความเหมาะสมของนโยบาย
1. ผลของนโยบายที่เป็นอยู่จะต้องเป็นที่พอใจของผู้กำหนดนโยบายและประชาชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่
2. ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง และสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของนโยบายที่ปรากฏอยู่
3. ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง ในการจัดการกับปัญหาที่ปรากฏอยู่
กรณีศึกษา นโยบายเกี่ยวกับการบริหารองค์การต่าง ๆ ของรัฐ นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณรายปี
การก่อรูปนโยบาย
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบายสาธารณะ คือ ก่อรูป กำหนดทางเลือก นำไปปฏิบัติ ประเมินผล
ลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย
1. ระดับปัจเจกบุคคล บุคคลจะรับรู้สภาพปัญหานโยบายต้องเผชิญกับเงื่อนไข 2 ประการคือ
- เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างแบบแผนของพฤติกรรมที่คุ้นเคยกับความคาดหมายของสิ่งแวดล้อมของบุคคล
- ข้อมูลของความขัดแย้งถูกนำมาสู่ความสนใจของสถาบัน
2. การรับรู้ระดับสถาบัน จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการรับรู้สภาพปัญหาของปัจเจกบุคคลดังกล่าว คือ เมื่อปัจเจกบุคคลวิเคราะห์ปัญหาเป็นที่ยอมรับสภาพปัญหาว่ามีอยู่จริงก็นำเข้าสู่การพิจารณาของสถาบัน
การพิจารณาคุณลักษณะและความสำคัญของนโยบายจำแนกได้ดังนี้
1. ความสำคัญของนโยบาย จำแนกได้ 3 ประการ
- การรับรู้สภาพปัญหานโยบาย
- สถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบาย
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาและสถาบันที่เกี่ยวข้อง
2. ความแปลกใหม่ของปัญหา
3. การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ของการแก้ปัญหา
4. ความซับซ้อนของนโยบายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
5. ภาพลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ
6. ค่านิยมของรัฐบาลในการพิจารณาปัญหา
วงจรประเด็นปัญหาของนโยบาย
1. ขั้นก่อเริ่มต้นปัญหาของนโยบาย
2. สัญญาณเตือนภัยจากปัญหาที่เริ่มก่อตัวขึ้น
3. การระบุต้นทุนในการแก้ปัญหา
4. การเสื่อมถอยของความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อปัญหา
5. ขั้นตอนสุดท้ายของปัญหา
- การกำหนดวาระการพิจารณานโยบาย ผลประโยชน์ทางการเมือง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ความต้องการของประชาชน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย
การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบาย
การกำหนดทางเลือกนโยบายพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้
1 คุณลักษณะของทางเลือกนโยบาย ประกอบด้วย การสร้างสรรค์ นวัตกรรม
2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย
3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย
4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย
**ข้อดีของการเปรียบเทียบทางเลือก กระตุ้นให้เกิดความคิดในการดัดแปลงทางเลือกนโยบายเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมยิ่งขึ้น***
ทฤษฏีการตัดสินใจทางเลือกนโยบาย
1. ทฤษฏีหลักการเหตุผล มุ่งเน้นการตัดสินใจที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุด
ประกอบด้วย
1. ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย
2. ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าประสงค์(goals) ค่านิยม(values) หรือวัตถุประสงค์ (objectives) ที่ผู้ตัดสินใจต้องคำนึงถึงและสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี
3. การตรวจสอบทางเลือกต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน
4. การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งทางด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
5. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทาง
6. ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองต่อ เป้าประสงค์
2. ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน
ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีที่มีลักษณะของการพรรณนาความเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล
- การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง หรือการเพิ่มเติมจากนโยบายที่มีอยู่อย่างจำกัด
สาระสำคัญของทฤษฎี พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. การพิจารณาในการเลือกเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ จะกระทำโดยพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากกว่าการที่จะแยกพิจารณาในแต่ละประเด็น
2. ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อย
3. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือก จะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น
4. สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง
5. ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียวหรือทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว
6. การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการอื่นๆ และนำไปสู่สภาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นรูปธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต
* Etzionl เห็นว่า “ การตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ของกลุ่มและองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมแต่กลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนที่ด้อยสิทธิ์และกลุ่มที่ไม่มีบทบาทจะถูกละเลย”
3. ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก
ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกจะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฏีหลักการเหตุผลและทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างทฤษฎีและทฤษฏีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกมีความเหมาะสมสำหรับผู้ตัดสินใจนโยบายที่มีขีดความสามารถต่างกัน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย
1. ค่านิยม ค่านิยมองค์การ ค่านิยมด้านวิชาชีพ ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมด้านอุดมการณ์
2. ความสัมพันธ์กับนักการเมือง
3.ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง
4. มติมหาชน
5.ประโยชน์ของสาธารณะชน
รูปแบบของการตัดสินใจ
1. การต่อรอง
2. การโน้มน้าว
3. คำสั่ง
4. กลยุทธ์ประกาศใช้นโยบาย
การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1 . ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย
2. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มเป้าหมาย
3. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยปฏิบัติ
4. ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
5. การพัฒนาประเทศ
6. สำคัญต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.แหล่งที่มาของนโยบาย
1. แถลงการณ์หรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร
2. เนื้อหาหรือรายละเอียดในกฎหมาย
3. ความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการประกาศใช้ กฎหมายที่ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลนั้น
4. ข้าราชการระดับสูง ผู้มีหน้าที่ในการริเริ่มการก่อรูปนโยบายและการพัฒนาทางเลือกนโยบาย
5. การพิจารณาและการวินิจฉัยของศาล คำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และคือนโยบายสาธารณะที่สำคัญของทุกสังคม
2.ความชัดเจนของนโยบาย
1.) เป็นรากฐานสำคัญสำหรับความมุ่งหวัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น