วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

สรุป RU603 บัณฑิตศึกษา Quiz และการส่งงาน

RU603 บัณฑิตศึกษา การสอบ และการส่งรายงาน

ท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ได้ให้แนวทางในการเรียนรู้แบบ Key Concept ไว้ ประกอบด้วย
1) Want to know
คือ เรียนเพื่อรู้ ซึ่งแบ่งความรู้ไว้ 3 ระดับ คือ ความรู้พื้นถิ่น ความรู้ระดับประเทศ และความรู้ระดับโลก
2) Want to be
คือ นำความรู้ไปใช้ เพื่อรับผิดชอบบ้านเมือง ช่วยชาติ ช่วยชน และให้เกิดผลกำไรต่อสาธารณะ (Public profit)
3) Want to live peacefully
คือ เรียนเพื่อให้อยู่อย่างมีสันติสุข มีความสุขในสังคมโลก รวมไปถึงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมของชาติไว้
4) Want to learn
คือ การเรียนให้ถูกวิธี คือ สามารถนำข้อมูล (Data) มาทำการสังเคราะห์ให้เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) โดยใช้กระบวนการต่างๆ (Procedure/Process) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดเป้นความสามารถ (Skill)
----------------
จากการ Want ทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เพื่อนำไปสู่ Long learning คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยอาจารย์ได้ฝากข้อคิดในการเรียนไว้ว่า
"
จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์ จึงสำเร็จได้ทุกประการ"
"
เรียนให้เกิดปัญญา"
"
การศึกษาคือกระบวนการสร้างปัญญา"
นอกจากนั้น ท่านอาจารย์ยังได้ให้ข้อคิดอื่นๆ ได้แก่
1)
บัณฑิตเป็นผู้รุ้ ผู้ฝึกตน
2)
บัณฑิตต้องรู้ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็น
3)
ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกสูตรที่คิด เป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
4)
พูดให้มีตรรก
5)
พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงชมผู้ที่ควรชม
6)
ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตา
7)
พรสวรรค์ และพรแสวง
8)
นกไร้ขน ก็เหมือนคนไร้เพื่อน
9)
เราเป็นครูกันคนละอย่าง
-----------------
ท่านอาจารย์พระมหาศิลปะ ได้ให้แนวคิดไว้ ดังนี้
1)
เรียนเพื่อให้คิดให้เป็น ทำให้เป็น สังเคราะห์เป็น และเป็นแสงสว่างให้สังคม
2)
พัฒนาความเสื่อมโทรมทางศิลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม โดยการ
-
ให้คุณค่าของชีวิต
-
มีความซื่อสัตย์
-
มีความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหมายทั้งปวง (Motivation)
-
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (Responsibility)
-
มีการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
-
มีการยับยั้งชั่งใจ
-
รู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง
-
รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
3)
คน 2 ลักษณะ ได้แก่ ฉลาดในประโยชน์ตนเอง และฉลาดในประโยชน์สังคม
4)
สิ่งที่สังคมคาดหวัง คือ เป็นคนฉลาดด้วย (คือมีความรู) และเป็นคนดีด้วย (คือประพฤติดี) นั่นคือ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และขยันหมั่นเพียร
5)
คุณสมบัติของบัณฑิต ได้แก่
-
มีความกตัญญู รู้คุณคน ให้ความเคารพบุพการี และผู้มีพระคุณ
-
ทำตนให้บริสุทธิ์ คือ มีศีล 5 ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตน
-
ทำตัวเองให้ปราศจากผู้อื่น คือ เพียรพยายามให้คนอื่นเป็นคนดี โดยเราทำให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
-
มีสังคหะ คือ การสงเคราะห์ เอ็นดู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
6)
อาวุธ 4 ประการ ได้แก่
-
ปัญญาวุธ คือ มีความรู้เป็นอาวุธ
-
ความสงบ ความสงัด เพื่อให้เกิดปัญญา (ปลีกวิเวก)
-
เรียนรู้เพิ่มเติมในศาสตร์ต่างๆ อยู่เสมอ
-
มีความเพียร และความขยัยอยู่เป็นนิจ
----------------
ท่านอาจารย์ศิวรัตน์ฯ ได้ให้แนวคิดในการเรียนที่ ม.รามฯ และการบริหารงานไว้ ดังนี้
(
ท่านอาจารย์ เป็นศิษย์เก่า ม.รามฯ รุ่นแรก)
1)
มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง
2)
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3)
มีความภาคภูมิใจ
4)
มีโอกาสได้สมาคมกับเพื่อนต่างอาชีพและต่างวัย
5)
มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-------------------
6)
การยอมรับต่อการทำงานในภาครัฐ เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ มีดังนี้
-
เจ้านาย
-
ลูกน้อง
-
เพื่อนร่วมงาน
-
ที่ทำงาน
7)
การทำงาน จะต้อง
-
มีความรู้จริงในวิชาการที่ปฏิบัติงาน
-
มีทั้งการบริหารงานและการทำงาน
-
ต้องรู้เขา รู้เรา
8)
หลักการทำงาน
-
รู้เขารู้เรา
-
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
-
รู้ว่าอะะไรควร อะไรไม่ควร
-
มีการจัดลำดับความสำคัญของงานตามลำดับ ได้แก่ อะไรต้องทำ อะไรควรทำ และอะไรทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
9)
สิ่งที่หัวหน้างาน ควรทำ
-
ความรอบรู้
-
ทำในสิ่งใหม่ๆ
-
เลือกตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ
-
กล้าที่จะรับฟัง
-
กล้าเสี่ยง
-
กล้ายอมรับในความเปลี่ยนแปลง
-
กล้าเผชิญหน้า
10)
การบริหารเวลา ได้แก่ เวลาในการทำงาน การเรียน และครอบครัว ควรแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง ดังนี้
- 8
ชั่วโมง สำหรับการพักผ่อน
- 8
ชั่วโมง สำหรับเรื่องส่วนตัว และครอบครัว
- 8
ชั่วโมง สำหรับการทำงาน
11)
การบริหารคน ให้ได้งาน และได้ใจคน
-
การครองตน อยู่ในกรอบของศีลธรรม
-
การครองคน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ (ให้เกิดความคิด -->ตัดสินใจ--->ถ่ายทอด-->ติดตามงาน)
-
การครองงาน
----------------
ส่วนช่วงบ่ายมี 2 วิชา มีเอกสารแจก โดยมีเนื้อหารวมไปถึงวันที่ 2 ด้วย ได้แก่ (คร่าวๆ นะ หาอ่านในเอกสารเพิ่มเติมกันเอง)
1.
การวิจัยในสังคมปัจจุบัน โดย รศ. ดร. มณี อัชวรานนท์ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา ม.รามฯ
ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไว้ ดังนี้
1)
นิยาม การวิจัย คือ กระบวนการศึกษาและพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง ในการพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ นั้น เกิดจาก การอ่าน การลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกตุ การถกเถึยง และการทดลอง
2)
นักวิจัย
3)
ผลการการวิจัย เพื่อนำไปใช้พัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม วิทยาการ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4)
ตัวอย่างของการทำวิจัย มีทั้ง ทำไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การจัดวางสินค้าในห้างสรรสินค้า หรือการทำหีบห่อ (packaging)
5)
ผลของการวิจัย จะต้องเที่ยงตรง และนำไปใช้ประโยชน์ได้
6)
ประโยชน์ของการวิจัย ก็คือ รู้ความต้องการของตลาด หรือผู้ใช้งาน
7)
ทิศทางการวิจัย ได้แก่
-
พัฒนาคุณภาพสังคม คุณภาพชีวิต
-
พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
-
สร้างความเข้มแข็งให้ชมชนและสังคม
-
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น การส่งสินค้าออกต่างประเทศ
-
การต่างประเทศ
-
ความั่นคงของรัฐ เช่น ปัญหาชายแดน
-
พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ
-
ทางการแพทย์ ฯลฯ
8)
ประเภทของการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
9)
เชิงปริมาณ ทำได้โดย การพรรณาโวหาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และรวมรวมจากเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการตีความ
10)
จรรยาบรรณของนักวิจัย
-
ซื่อสัตย์ ซื่อตรง
-
ให้เกียรติ
-
มีศักดิ์ศรี
-
ไม่อคติ มีอิสรภาพทางความคิด
-
ปฏิบัติตามเงื่อนไข
-
อุทิศเวลา
-
มีความรับผิดชอบ
11)
ขั้นตอนการวิจัย
-
เลือกหัวข้อ (ที่อยากรู้คำตอบ หรือ จากปัญหาที่เกิดขึ้น)
-
สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
-
กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
-
สมมติฐานการวิจัย
-
ออกแบบการวิจัย
-
เก็บข้อมูล
-
วิเคราะห์ข้อมูล
-
รายงานผล
----------------
2.
หลักการทั่วไปของการเขียนอ้างอิง โดย ผศ. ดร. ประภาส พาวินันท์
1)
ได้นำเสนอวิธีการอ้างอิงในงานวิชาการ โดยประเทศไทยใช้ตามรูปแบบ APA ซึ่งการเขียนอ้างอิงนั้น ก็เพื่อ บอกกล่าวหรือชี้แจงแหล่งที่มาของข้อมูล
2)
ประเภทของแหล่งอ้างอิง ได้แก่
-
การบรรยาย
-
เอกสารปฐมภูมิ (คือเอกสารที่เจ้าของข้อมูลถ่ายทอดลงไปโดยตรงที่สื่อ โดยไม่ต้องจัดพิมพ์)
-
จารึก
-
เอกสารสิ่งพิมพ์
-
เว็บไซต์
*
ระวังจะเกิดเหตุการ Plagiarism คือ คัดลองงานผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกฟ้องร้องได้
4)
ทำไม่ต้องอ้างอิง ก็เพื่อ
-
จริยธรรมทางวิชาการ : เคารพและให้เกียรติ
-
ลดปัญหาการละเมิดกฏหมายลิขสิทธิ์
-
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
-
เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
-
ประเมินคุณภาพและความตั้งใจของผู้เขียน
5)
วิธีการอ้างอิงตาม APA มี 2 รูปแบบ คือ
-
อ้างอิงในเนื้อหา ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียน, ปีที่เขียน, เลขหน้า เช่น Mattia, 1987, pp. 83-84
-
อ้างอิงท้ายงานวิชาการ (บรรณานุกรม)
6)
ทำไมต้องใช้แบบ APA
-
เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
-
เป็นมาตรฐานทางวิชาการ
------------------------------
(
มี QUIZ ท้ายชั่วโมง 4 ข้อ ตัวการเขียนอ้างอิงหลายๆ แบบ มีที่ผิด ให้แก้ไขให้ถูกต้อง)
------------------------------
วันที่ 2
------------------------------
-------------------------------------------
ช่วงบ่าย มี 3 วิชา ได้แก่
1)
การเขียนผลงานทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพ โดย รศ. ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร
2)
การพัฒนาบุคลิกภาพของบัณฑิตและการนำเสนอผลงาน โดย รศ. อรุณทวดี พัฒนิบูลย์
3)
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา โดย ดร. บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์
...
หาอ่านกันเองนะ ...
---------------
จัดทำรายงานวิชา 2 ฉบับ ของท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ส่งภายใน 11 เม.ย. 2554
การส่งรายงาน วิชา RU 603 นักศึกษาต้องลงข้อมูลการส่งรายงาน online ทาง website http://www.report.ru.ac.th/ (ลงบันทึกการส่งแบบออนไลน์ 2 ครั้ง)เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้สั่งพิมพ์แบบปกนำส่งรายงาน แล้วนำมาเย็บเป็นปกในของรายงานที่นักศึกษาต้องส่งคณะฯ หรือโครงการฯนักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
1.
รหัสวิชา 5 หลัก พิมพ์โดยไม่เคาะวรรค (RU603)
2.
คำสำคัญ เป็นคำที่มีความหมายในการใช้เขียนรายงาน ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกช่อง
3.
ก่อนการสั่งพิมพ์ให้ save ไว้ใน My document ก่อน เพื่อป้องกันการหลุดจากระบบ นักศึกษาสามารถเรียกพิมพ์อีกเมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ
4.
ถ้าไม่สามารถพิมพ์หน้าปกได้ให้ตรวจดูว่ามีข้อมูลรายงานอยู่ในระบบหรือไม่ ถ้ามีแล้วไม่ต้องพิมพ์ใหม่ให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word พิมพ์ โดยหมายเหตุว่าได้ส่งรายงาน Online แล้ว
5.
ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้ ให้พิมพ์ตามแบบฟอร์มใน Microsoft Word แล้วพิมพ์ส่งพร้อมเขียนหมายเหตุด้วยว่าลงฐานข้อมูล Online ไม่ได้
---------------------------------------------------------
นักศึกษาชั้นปริญญาโท ซึ่งศึกษากระบวนวิชา RU 603 บัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2554 รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุขและคณะ นักศึกษาทุกคนต้องทำรายงาน 2 เรื่อง แสดงความสามารถในการแสดงออกซึ่งความคิดและเนื้อหาสาระในความคิดของนักศึกษาแต่ละท่าน ดังนี้ :-
---------------------------------------------------------
เรื่องที่ 1 เป็นการเขียนบทความเรื่องใด ๆ ก็ได้ ที่นักศึกษาอยากจะเขียนโดยเสรี เนื้อหาสาระความยาว พิมพ์ขนาดกระดาษ A4 ไม่เกิน 5 หน้า
---------------------------------------------------------
เรื่องที่ 2 เป็นการตั้งคำถามว่า นักศึกษามีความรู้อะไรมากที่สุด สิ่งที่ท่านรู้ดีที่สุดในตัวท่าน แสดงออกมาให้กระจ่าง และอธิบายว่าความรู้ดังกล่าวนั้นท่านได้มาจากที่ใด อย่างไร และจะนำไปทำประโยชน์อะไร ได้อย่างไร พิมพ์ไม่เกิน 2 หน้า ให้นักศึกษาทุกคน ส่งรายงานทั้ง 2 ชิ้น และนักศึกษาสามารถเย็บรวมกันได้ โดยให้มีใบปะหน้าแสดง ดังนี้
---------------------------------------------------------
ตัวอย่าง
ชื่อ นางสาวณหทัย   วันวงษ์
รหัสประจำตัว 5324831652สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย
ภาคเรียนที่ 2/2554เสนอ รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
----------------------------------------------------------
ทั้งนี้ ไม่ต้องเย็บเล่ม เข้าปก โดยเน้นความเรียบง่าย ประหยัด แต่มีเนื้อหาทางวิชาการ
-------------------------------------
***
ส่งรายงานที่โครงการฯ***
ภายใน11 เม.ย. 2554  เพื่อจัดส่งให้กับบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป
(
สำนักวิทยบริการจังหวัดสุโขทัย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น