ระบบทุนนิยม คือ พลังเบื้องหลังที่ขับเคลื่อนกระบวนการที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์
Pax Britanuica คือ ระบบทุนนิยมที่อังกฤษเป็นศูนย์กลาง หัวใจสำคัญอยู่ที่การควบคุมการค้าของอังกฤษระหว่างอินเดียและจีน สิงค์โปร์เป็นเกาะที่เป็นทางผ่าน มีฝิ่นเป็นสินค้าสำคัญของอังกฤษเป็นที่มาของการสะสมทุนอย่างมหาศาล เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจไทย คือ เมื่ออังกฤษยึดอินเดียวแล้ว ยึดพม่า กรุงเทพฯในยุคก่อนทำสัญญาเบาริ่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกอ้อยจึงทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาล ผู้ที่เข้ามาลงทุนผลิตน้ำตาล คือ พ่อค้าชาวจีน พ่อค้าสิงค์โปร์ผลักดันรัฐบาลอังกฤษให้ทำสนธิสัญญากับไทยเพื่อซื้อน้ำตาลได้อย่างสะดวก
ลัทธิเสรีนิยม (liberalism) รัฐอังกฤษเลิกหารายได้เองแต่หันมาเก็บภาษีแทน เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิเสรีนิยม
Pax Britanuica มีลัทธิทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เสรีนิยม ตั้งแต่ ร.3 ท่านรู้ว่าท่านเองเคยเป็นพ่อค้าขายของให้หลวง ท่านจึงยกเลิกการแต่งเรือหลวงและพระคลังสินค้า การหารายได้เข้ารัฐโดยการเก็บภาษีอาการ ท่านเพิ่ม tax farm 38 รายการ (tax farm คือ เวลามีธุรกรรมทางค้าขึ้นมีความต้องการของรัฐที่จะเข้าไปเก็บส่วนเกิน ) โดยมีเจ้าพระคลังสินค้าเป็นผู้คุมอาการและเจ้ากรมพระคลังเป็นผู้คุมภาษี ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเป็นพี่น้องกันเพื่อเป็นการถ่วงดุลกัน การที่ไทยเป็นผู้ผลิตน้ำตาลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การที่มีแรงงานอื่นเข้ามานั้น หมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีนัยะสำคัญกับชาวนาไทย คือ ชาวนาไทยเริ่มต้นผลิตสินค้าให้ตลาด ข้าวไม่ได้มีไว้บริโภคเพียงอย่างเดียว ชาวนาไทยเริ่มมีการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ร. 3 จึงขยาย tax farm ดังนั้น ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบทุนนิยม จะเห็นการขยายตัวของระบบโครงสร้างเศรษฐกิจ มีการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวนัยสำคัญ คือ เป็นที่มาของรายได้ของรัฐ
Pax Britanuica เป็นระบบทุนนิยม มีรัฐอังกฤษเป็นศูนย์กลาง มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าอังกฤษในสิงค์โปร์เริ่มอึดอัดเรื่องพ่อค้าเอาเรือมาซื้อน้ำตาลที่ไทย ไทยต้องเริ่มปฏิรูปการเก็บภาษี อังกฤษซื้อข้าวและขายฝิ่น อังกฤษต้องการให้ไทยปลูกข้าวให้ตลาดโลกเพราะอังกฤษรู้ว่าบริเวณอื่น ๆ ปลูกน้ำตาลได้ดีกว่าไทย เช่น ฟิลิปปินส์ เกาะชวา ไทยจึงตกอยู่ในฐานะความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ สินค้าชนิดนี้ที่อื่นสามารถผลิตได้ดีกว่า นี่คือความต้องการของอังกฤษ ๆ เป็นทุนนิยมการค้าหรือทุนนิยมพาณิชย์ อังกฤษต้องการค้าขายได้ภายใต้เงื่อนไขของตัวเองโดยไม่ต้องการให้เป็นประเทศอาณานิคม โดยส่งตัวแทนเข้ามาติดต่อกับ ร. 3 ๆ ให้ขุนนางไปติดต่อกันเอง ในขณะนั้นกลุ่มขุนนางได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ๆ แรก คือ กลุ่มพระคลังอากร ซึ่งเป็นพวกที่ศึกษาอารยธรรมตะวันตกซึ่งเชื่อว่าเปิดโอกาสค้าขายกับอังกฤษไทยจะได้ผลประโยชน์ และกลุ่มพระคลังภาษีซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การทำสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นเรื่องของการต่อรองความขัดแย้งภายใน 2 กลุ่ม ๆ ที่ฐานอำนาจที่ระบบเดิมไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง กลัวกระทบกระเทือนกับฐานของตนกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการเปิดการค้า ยอมรับระบบเสรีนิยม (Pax Americana 2) ร.4 อนุญาตให้ซื้อฝิ่นได้และเป็นฐานรายได้สำคัญของประเทศ ปัญหาของสนธิสัญญาเบาริ่งอยู่ที่จะรื้อโครงสร้างที่กลุ่มพระคลังภาษีคุมได้อย่างไร
1. การเปิดการค้ากับอังกฤษที่เกิดจากข้อเรียกร้องของระบบทุนนิยม ในกระบวนการดังกล่าวมีพลังสังคมต่าง ๆ เช่น ร.4 , พระคลังอากร Public Policy เกิดมาจากข้อเรียกร้องของระบบทุนนิยมโลกมีคนได้ประโยชน์และถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์
ผลที่เกิดจากการทำสัญญา
1. โครงสร้างอำนาจทางการเมือง ร. 4 เป็นกษัตริย์ที่ไม่มีพระราชอำนาจ โครงสร้างเดิมเป็นระบบอุปถัมภ์ อำนาจทางการเมือง คือ ความสามารถในการควบคุมและจัดสรรทรัพยากร ๆ คือ รายได้ที่เป็นภาษีอากร ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือพระคลังภาษี คนเหล่านี้เห็น ร.4 ไม่มีพระราชอำนาจจึงไม่สนใจนำรายได้ให้ท่านหรือที่เรียกว่าพระคลังข้างที่ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) จึงเป็นเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมัย ร. 5 เกิด Public Policy ที่สำคัญ คือ
- เกิดการขยายตัวของการผลิตเป็นที่มาของรายได้ที่เป็นภาษีอากรของรัฐ เมื่อก่อนอยู่ในมือขุนนางฝ่ายพระคลังภาษี เมื่อสิ้น ร. 4 พวกขุนนางได้เลือก ร. 5 เป็นกษัตริย์ เพราะคิดว่าสามารถจะควบคุมทรัพยากรเหล่านี้ต่อไปได้
โครงสร้างการคุมกำลังคนในช่วงนี้แบ่งให้ขุนนางคุม หลังเสียกรุงรัฐไม่อยู่ในฐานะควบคุมกำลังคนได้ ฐานอำนาจของรัฐจึงอยู่ที่การค้า การผลิต หลังสัญญาเบาวริ่ง ร. 4 นำโดยพระคลังอากรอยากให้เลิกระบบศักดินา เลิกทาส แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะตอบแทนขุนนางได้อย่างไร สัญญาเบาริ่งทำให้ไพร่ ทาส เป็นแรงงานอิสระ ได้ไปปลูกข้าวส่วนรัฐก็จะเก็บภาษีจากการปลูกข้าว การเปลี่ยนแปลงในสมัย ร. 5 ไม่ได้เพื่อรับมือการล่าอาณานิคมแต่จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการควบคุมกำลังคน โลกาภิวัตน์เปิดประเด็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดการ ร. 5 จึงอาสาเข้าไปจัดการเรื่องนี้เอง ชนกลุ่มใหญ่ในสังคมไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องไพร่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงให้ ร. 5 เข้ามาแก้ไขจึงเป็นที่มาที่ท่านตั้งหอรัษฏากรพิพัฒน์ (สนง.เร่งรัดรายได้) สมเด็จฯ เร่งรัดรายได้ของท่าน สมัยก่อนมีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรมพระคลังสมบัติ ในสมัย ร. 4 กรมหลวงวงศาฯ ซึ่งเป็นน้อง ร. 4 หักหลังท่านโดยการไม่นำรายได้ส่งให้ท่าน ในสมัย ร. 5 จึงพยายามดึงเอารายได้มาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ ในพิธีราชาภิเษก ครั้งที่ 2 ร. 5 จึงออกประกาศเลิกหมอบคลาน ทำให้ไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ท่านให้ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่สิงค์โปร์มาพบเพื่อขอคำปรึกษาและได้มีการตั้งสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินโดยสาเหตุที่ท่านยกเลิกหมอบคลานเพื่อจะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับทุนนิยมของอังกฤษ เมื่อ ร. 5 คิดจะยึดอำนาจจากขุนนางท่านศึกษารูปแบบการปกครองของประเทศต่าง ๆ ต้นแบบที่ท่านนำมาใช้ปฏิรูปมาจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นต้นแบบของระบบสมบูรณาฯ สภาที่ปรึกษาได้ออกกฎหมายดึงเอา tax farm เข้ามาที่สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่ยอม ร. 5 จึงขอตรวจบัญชีจากกรมนาพบว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ คอรัปชั่น จึงมีการแจกบัตรสนเทศว่าหลวงจะฆ่าวังหน้า ทำให้ ร. 5 ไม่พอใจ(เนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ นั้นเป็นผู้ที่แต่งตั้งวังหน้า) ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างวังหน้าและวังหลวง พวกวังหน้าหลบเข้าไปพึ่งสถานทูตอังกฤษ ๆ จึงเข้ามาจัดการเรื่องนี้และอังกฤษก็เข้าข้าง ร. 5 ทุนนิยมโลกเปิดโอกาสให้ ร. 5 ทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ดึงทรัพยากรเข้ามาที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ คือ
1. ท่านให้ข้ออ้างที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นข้ออ้างของการปฏิรูป
2. ท่านรู้ว่าการหาประโยชน์จาการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบราชการสมัยใหม่เพราะเป็นระบบฐานอำนาจของกษัตริย์ ไม่ใช่ระบบที่จะเอาตำแหน่งมาหาประโยชน์ ระบบเก่ากษัตริย์ไม่มีอำนาจเพราะไม่มีรายได้ โดยในระบบใหม่ ข้าราชการต้องมีการศึกษา มีเงินเดือนประจำและทำงานตามกฎเกณฑ์
ระบบทุนนิยมโลกในเชิงทฤษฏี ต้องมีศูนย์กลางและมีบริเวณที่มีปฏิสัมพันธ์กับส่วนกลาง แต่ละบริเวณมีหน้าที่ในระบบทุนนิยมแตกต่างกันออกไป หน้าที่ถูกกำหนดโดยศูนย์กลาง ดังนั้นความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมโลกจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ศูนย์กลางเป็นผู้กำหนดนโยบายแต่ละบริเวณ เช่น ให้ไทยเป็นผู้ผลิตข้างแทนน้ำตาล ศูนย์กลางจะมีอำนาจบริเวณต่าง ๆ จะทำหน้าที่อะไรในระบบทุนนิยมนั้นขึ้นอยู่กับการสั่งการเป็นสำคัญ เป็นการแบ่งงานกับทำระหว่างประเทศ บริเวณต่าง ๆ ผลิตสินค้าที่ต่างกันไป ในวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี Neo classic บอกว่า Internationl of Labour เกิดจากหลักการสำคัญ คือ Comparative Advantage (ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ) ฝรั่งเศสมีภูมิประเทศเหมาะแก่การปลูกองุ่น จึงมี Comparative Advantage ที่จะผลิตไวน์ ส่วนไทยนั้นภูมิประเทศเหมาะกับปลูกอ้อยและข้าว ดังนั้น หัวใจสำคัญของการทำงานของระบบทุนนิยมโลก คือ ศูนย์กลางเป็นผู้กำหนดที่ตอบสนองความต้องการของตัวเองเป็นเรื่องความสำคัญในเชิงอำนาจ ระบบทุนนิยมโลกแต่ละช่วงมีศูนย์กลาง การทำงานไม่มีขอบเขตในรัฐของตัวเอง แต่จะดึงบริเวณต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในระบบ อาณาบริเวณจึงไม่ได้ถูกกำหนดที่เส้นกั้นเขตแดนของประเทศแต่ขึ้นอยู่กับบริเวณใดที่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยมโลก
Pax Americana 1
ปลายศตวรรษที่ 19 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ที่เยอรมันในเรื่องเครื่องจักร เคมี เครื่องไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหลัก สงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันแพ้สงครามและต้องลงนามสัญญาแวร์ซาย ซึ่งทำให้เยอรมันเสียเปรียบจึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีเยอรมัน อิตาลีและญี่ปุ่น และได้แพ้สงครามกับฝ่ายพันธมิตร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐเป็นผู้เข้ามามีบทบาทเป็นศูนย์กลางในระบบทุนนิยมโลก หัวใจสำคัญของระบบนี้ คือ สหรัฐพยายามเข้าไปบริหารจัดการ วิธีคิด คือ หลังจากญี่ป่นแพ้สงครามสหรัฐได้ลงโทษเยอรมันและญี่ปุ่นไม่ให้มาเป็นผู้ท้าทายได้อีกต่อไป และสหรัฐตระหนักว่าทุนนิยมของตนเองไม่สามารถทำงานต่อไปได้ในสภาวะที่ไม่มีประเทศใดมีเงินมาซื้อสินค้าของตัวเอง นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า “dollar gap” จึงได้มีแนวคิดที่จะฟื้นทั้ง 2 ประเทศให้เป็นพันธมิตรของตน วิธีคิดในกรณีประเทศเยอรมัน คือ สหรัฐคิดว่าอุตสาหกรรมของเยอรมันพื้นตัวเร็ว ต้องทำให้เยอรมันเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่สำคัญซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส นั่นก็คือ ถ่านหิน ฝรั่งเศสและเยอรมันได้ทำข้อตกลงกัน เป็นข้อตกลงที่ผูกขาดให้รัฐทำตาม เป็นข้อตกลงที่มีฐานะเหนือรัฐ “supernational” หลังจากนั้นเกิดข้อตกลงตลาดร่วมยุโรปเพราะตลาดโลกยุโปรเป็นตลาดสินค้าใหญ่ของเยอรมัน ฝรั่งเศสเป็นประเทศเกษตรกรรม หน่วยทางเศรษฐกิจตกลงกันทลายกำแพงภาษีระหว่างกัน รายได้ไหลผ่านพรมแดนประเทศอีกประเทศหนึ่งเสมือนประเทศของตนเอง แรงงานย้ายข้ามเหมือนกับสินค้า ทำให้ตลาดสินค้าของเยอรมันใหญ่ขึ้น รวมทั้งเข้าถึงทรัพยากร (ถ่านหิน) ของฝรั่งเศส
สหรัฐพยายามทำให้ญี่ปุ่นเป็นป้อมปราการณ์ของระบบทุนนิยม “Fortress of Capitalism” สหรัฐพยามให้ญี่ปุ่นเข้าถึงทรัพยากรของภูมิภาค เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วและการดำเนินนโยบายอย่างจงใจของสหรัฐที่จะต้องการให้ญี่ปุ่นขยายตัวอย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นมีรัฐที่เข้าแข็งมีความสามารถในการพัฒนา สาเหตุที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวเพราะ
1. ญี่ปุ่นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ผลิตยุทธโธปกรณ์ในการทำสงครามเกาหลี
2. ความจงใจของสหรัฐในเรื่องการเปิดตลาดรับสินค้าราคาถูกจากญี่ปุ่น นโยบาย “One dollar Browse” ทำให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าผู้หญิงของสหรัฐประสบปัญหาเนื่องจากสินค้าจากญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาด
ทุนการเงินและทุนน้ำมันอยู่เบื้องหลังนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ
บทบาทของสหรัฐในการจัดการระบบเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
“Bretton Woods System” เป็นการประชุมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ก่อนหน้านี้ระบบเศรษฐกิจโลกเผชิญปัญหามากมาย ในเรื่อง ประเทศต่าง ๆ แข่งขันกันลดค่าเงินของตนเพื่อแข่งขันในเรื่องการส่งออกและมีแนวคิดใหม่ในระบบทุนนิยมหลังเศรษฐกิจตกต่ำ นโยบายสหรัฐ คือ รัฐต้องเข้ามาช่วยดูแลส่วนที่เป็นแรงงานของตน ไม่ใช่ส่งเสริมเฉพาะทุนอย่างเดียว แนวความคิดนี้มีต่อมาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะรัฐเป็นผู้ดูแลให้สวัสดิการประชาชน (Kennesian Economy) รัฐมีหน้าที่ให้สวัสดิการกับแรงงาน ประเด็นต่อไปจะทำให้ระบบการเงินระหว่างประเทศเกิดเสถียรภาพได้อย่างไร จึงมีข้อตกลงที่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงอย่างวูบวาบจึงเป็นที่มาของการเกิด
1. IMF ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อรักษาระบบแลกเปลี่ยนในเศรษฐกิจโลก การตัดสินใจในกองทุนนี้ให้ตัดสินใจตามสัดส่วนของเงินในกองทุน โดยสมาชิก IMF อนุญาตให้เงินขึ้น ลง ไม่เกิน 10% เพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สหรัฐตรึงราคากับทองคำ และประเทศต่าง ๆ นำอัตราแลกเปลี่ยนของตนเองตรึงไว้กับเงินดอลล่าร์
2. World Bank มีหน้าที่ฟื้นเศรษฐกิจ แนวคิด คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีหน้าที่ช่วยเหลือประเทศที่ด้อยพัฒนา
แต่ในความเป็นจริงประเทศที่พัฒนาแล้วขูดรีดประเทศที่ด้อยพัฒนา ซึ่งไม่มีทางที่ประเทศด้อยพัฒนาจะไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ประเทศที่เป็นนิกส์เกิดขึ้นโดยประเทศที่พัฒนาแล้วกำหนดบทบาท สนับสนุน ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับนโยบายของสหรัฐ เป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจเกิดจากข้อเรียกร้องของผู้กำหนดทุนนิยมโลก กำหนดนโยบายเพื่อเอื้อผลประโยชน์ตัวเอง
Concept การพัฒนาของสหรัฐ คือ มองว่าประเทศด้อยพัฒนายังไม่มีการเข้าสู่กระบวนการหรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรม โดยต้องช่วยประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงได้เกิดนโยบาย ISI (Import Substitution Industry) อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าขึ้นเพื่อผลิตสินค้าที่เคยมีการนำเข้าภายในประเทศเอง ตั้งกำแพงภาษี หัวใจสำคัญ คือ เพื่อเปิดทางให้ทุนนิยมอุตสาหกรรมของสหรัฐมาลงทุนในประเทศด้อยพัฒนา
ปัญหาที่พบคือ
1. สหรัฐต้องการให้รัฐบาลถอนตัวจากอุตสาหกรรมที่รัฐเป็นผู้ทำ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรเครื่องหนัง
2. การขาดโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ บทบาทของธนาคารโลก คือ สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่พร้อมรับการลงทุนจากต่างประเทศ
3. โครงสร้างกฎหมาย ที่เอื้อต่อการลงทุน การขาดทรัพยากรมนุษย์
ดังนั้น สิ่งทิ่เกิดกับไทยเริ่มตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษฎิ์ ท่านได้ไปรักษาตัวที่สหรัฐ ๆ ส่งเจ้าหน้าที่มาเพื่อปรึกษาหารือในประเด็นที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาประเทศโดยต้องเลิกรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมการลงทุน จึงเป็นจุดเริ่มต้นระหว่างรัฐไทยกับทุนนิยมโลกเป็นระลอกที่ 2
ข้อเรียกร้องของ Pax Britanuica คือ ลดอัตราภาษี แต่ของ Pax Americana คือ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
Pax Americana 2
อยู่ภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) เป็นรัฐให้สวัสดิการ ในกรณีประเทศกำลังพัฒนารัฐเป็นผู้ให้กิจการสาธารณูปโภคจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทำให้รัฐเป็นผู้จัดหาให้กิจกรรมสาธารณะให้ประชาชน ประเทศกำลังพัฒนาได้เกิดรัฐเป็นผู้จัดการ เกิดรัฐวิสาหกิจสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นการให้บริการประชาชนในราคาถูกโดยไม่ตั้งใจ รัฐให้สวัสดิการสังคมทางอ้อมโดยเป็นผู้ให้กิจการสาธารณูปโภคแก่ประชาชน ยุคนี้รัฐต้องโอนรัฐวิสาหกิจให้ประชน Pax Americana สิ้นสุดลงในปี 1971 เมื่อประธานาธิบดีนิกสันประการปิดหน้าต่างของ Demand กับราคาทองคำ จึงเป็นการล่มสลายของระบบ Bretton Woods System
IMF และ ธนาคารโลกถูกลอยแพ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ทั้ง 2 องค์กรต้องไปหาภารกิจของตนเองโดยทั้งสองสรุปเหมือนกันว่าภารกิจในอนาคตคือชักจูงประเทศที่เคยเปิดรับยุทธศาสตร์ ISI และเปลี่ยนมาเป็น EOI (การผลิตเพื่อการส่งออก) ไทยได้เปลี่ยนมาใช้นโยบาย EOI ในสมัยเปรม
Neoliberalism ต้องตั้งบนหลักการที่ตลาดต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ รัฐต้องไม่เข้ามาจัดการในกระบวนการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องปล่อยเป็นหน้าที่ของตลาด รัฐให้ความช่วยเหลือและ รัฐต้องไม่เป็นผู้ประกอบกิจกรรมทางธุรกิจเอง เน้นที่ตลาดให้รัฐถอนตัวจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ รัฐต้องไม่เข้ามากำหนดกฎระเบียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ
หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่
1. Privatization
2. Liberalization หัวใจของระบบนี้ คือ การเปิดเสรีของการค้าและบริการ
3. Deregulation
4. Satabilization
หัวใจของทุนนิยมสหรัฐหลังการลงสลายของ Bretton Woods System คือ การล่มสลายของภาคการเงิน และภาคการเงินของเราเปิดรับภาคการเงินจากต่างประเทศโดยเสรี Information Technology เป็นเครื่องมือในระบบทุนนิยม หลังจากเงินเป็นหัวใจของระบบทุนนิยมโลก เงินเกิดจากรายได้ของประเทศ ซึ่งฝากไว้ที่ลอนดอน (ออฟชอ) สหรัฐส่งเสริมให้ธนาคารเอาเงินไปให้ประเทศด้อยพัฒนากู้โดยให้ประกันว่าจะช่วยคุ้มครองการเงิน ประเทศต่าง ๆ กู้เงินจึงเกิดหนี้สินจำนวนมาก
1981 ประธานาธิบดีเรเกนขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมโหฬาร ผลคือ ประเทศที่กู้เงินเป็นหนี้ เกิดวิกฤตเงินกู้ ประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องไปกู้เงิน IMP และธนาคารโลก สหรัฐเป็นประเทศที่กำหนดดอกเบี้ยและพิมพ์ธนบัตรได้ตามชอบใจ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนได้เอง
หลังเกิดวิกฤตน้ำมันรอบ 2 ประเทศต่าง ๆ ที่กู้เงินจาก IMF และ ธนาคารโลก ต้องรับนโยบายที่ต้องการเปลี่ยน ISI เป็น EOI สหรัฐผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ รับกระแสเสรีนิยมใหม่ สะท้อนออกมาในรูป SAL หรือเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจโลก
1. การผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐถดถอยลง เกิด “Sunset Industry” เนื่องจากภาคการเงินของสหรัฐไม่สนใจนำเงินมาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของตนเอง เป็นการปฏิวัติ Information Technology
2. การขึ้นค่าเงินเยน ปี 1985 ประเทศอุตสาหกรรมของโลกมาประชุมกันเพื่อจัดการปัญหาค่าเงินดอลล่าร์ที่ลดลงอย่างมาก ญี่ปุ่นยอมขึ้นค่าเงินของตนเอง มีผลทำให้ญี่ปุ่นปรับนโยบายการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของตนเองใหม่ จากที่เมื่อก่อนญี่ปุ่นคัดค้านการผลิตแบบสหรัฐ ซึ่งสหรัฐใช้ระบบการผลิตแบบ Fordism (ระบบสายพาน) เป็นแนวคิดเรื่องศักยภาพของมนุษย์ที่ทำงานซ้ำ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในระบบนี้ก็มีข้อเสียและญี่ปุ่นได้นำข้อเสียมาปรับปรุงเป็นระบบ TOYOTISM
ข้อแตกต่างของระบบการผลิตของญี่ปุ่นต่างจากสหรัฐ คือ บริษัทผลิตแค่พาทต่าง ๆ มาส่งบริษัทผลิตรถยนต์ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า ไคริซึ โตโยต้าไม่ต้องผลิตชิ้นส่วนเองจึงเป็นที่มาของการบริหารจัดการที่เรียกว่า QC. และ Just in time
1985 ณ โรงแรม Plaza New York เกิดข้อตกลง “Plaza Accord” ทำให้เกิดการขึ้นเงินมาคและเงินเยน สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ญี่ปุ่นต้องลดต้นทุนการผลิตโดยแจกจ่ายการผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ให้ประเทศอื่น ๆ ญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วนสำคัญ ๆ เพียงไม่กี่ชิ้น ชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางและระดับล่างจะไหลเข้าสู่ภูมิภาค เกิดการทะลักการลงทุนของเงินลงทุนญี่ปุ่น ยุทธศาสตร์สำคัญของญี่ปุ่น คือ การโยกย้ายการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์มานอกประเทศ โดยญี่ปุ่นจะเป็นผู้คัดเลือกว่าประเทศใดจะเป็นที่ประกอบขั้นสุดท้าย ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดว่าประเทศใดจะผลิตชิ้นส่วนอะไร เช่น ชิ้นส่วนที่ปราณีตต้องมาผลิตที่ไทย จึงเป็นที่มาของ Pax Nipponica
Pax Nipponica มีบทบาทในภูมิภาคตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี 1980 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ๆ มีทรัพยากรมาก สหรัฐมองญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรที่สำคัญไม่ว่าที่ญี่ปุ่นมาหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในสมัยเปรม
1. ราคาของรัฐวิสาหกิจสูง แต่การแปรรูปไม่สำเร็จเกิดแรงต่อต้านจากประชาชนและการทำงานของ NGO เกิด เทคโนแครต และการเติบโตของภาคประชาชน NGO เข้ามีมีบทบาทสำคัญในเรื่องนโยบายสาธารณะที่กระทบต่อประชาชน
1980 IMF และธนาคารโลก เข้ามาผลักดันนโยบาย SAL
ข้อเรียกร้องของ Neoliberalism ต่อการเปิดเสรีทางการค้า คือ กลไกสำคัญอยู่ในองค์กรที่เรียกว่า GATT . WTO สหรัฐอยู่เบื้องหลังโดยผ่านการทำงานของ GATT และ WTO
1990 ยุคคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงเป็นยุคของโลกาภิวัตน์ Information technology เข้ามามีบทบาทเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การทำงานของทุนนิยมเข้มข้นขึ้น มีการเปิดการค้าเสรีทางการค้า การเงิน แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
หัวใจสำคัญของ Neoliberalism เน้นที่บทบาทของตลาด ให้รัฐบาลถอนตัวออกจากกิจการทางเศรษฐกิจ
อยากทราบว่าในยุค Pax Britannica นี่สินค้าของอังกฤษติดป้าย made in Britain หรือ made in England คะ
ตอบลบ