วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ะบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism

ระบบเศรษฐกิจ   
ระบบเศรษฐกิจ ( economic system ) หมายถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ
1.ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม ( Laissez-faire or capitalism) ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนิน กิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
     
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ

     
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
1.
ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละ บุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน 2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับการจัดสรรทรัยากรในระบบเศรษฐกิจ
3.การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ อย่างสิ้นเปลือง

2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ( communism ) ระบบเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งทรัพยากรต่างๆและปัจจัยการ ผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจมักจะทำอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับ จากส่วนกลาง (central planning) โดยคำนึงถึงสวัสดิการของสังคมเป็นสำคัญ
     
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลใน สังคม
2.ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและปริโภคตามคำสั่งของรัฐ
     
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
1.
ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตหรือบริโภคอะไรได้ตามใจ
2.สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงทุนทรัพย์ในการผลิต
3.การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ( socialism ) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นระบบที่ใกล้เคียงกับระบบคอมมิวนิสต์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้รัฐจะเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรพื้นฐานไว้เกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพแก่ประชาชนบ้างพอสมควร เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ระบบกลไกราคามีผลอยู่บ้างในระบบเศรษฐกิจนี้
     
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.
ช่วยลดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคล
2.เอกชนมีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินได้บ้าง
     
ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
1.
การผลิตถูกจำกัดเพราะต้องผลิตตามที่รัฐกำหนด
2.โอกาสที่จะขยายการผลิตหรือพัฒนาคุณภาพการผลิตเป็นไปได้อย่างลำบาก

4.ระบบ เศรษกิจแบบผสม( mixed economy )
             ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างแบบทุนนิยมและ สังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้น ฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐและเอกชน
     
ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.
เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว
     
ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
1.
การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพสินอาจทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางฐานะและ รายได้
2.การที่รัฐสามารถเข้าแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด
  2.1
ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง  
  2.2ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงได้ง่าย       การ พัฒนาเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์การวัดระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ
1. รายได้ต่อบุคคล
2. คุณภาพของประชากร (ซึ่งวัดจากสถิติหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เช่น การศึกษา)
การแบ่งกลุ่มประเทศโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
1. กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น
2. กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา
3. กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกาละตินอเมริกา และเอเซีย
ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การสะสมทุนสูง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์และประชากรเหมาะสม
2. ปัจจัยทางการเมืองและสังคม เช่น เสถียรภาพทางการเมืองที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ทฤษฏีการพัฒนาเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิม (ค.ศ 1940-1960) • เชื่อว่าประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนทุน-เทคโนโลยี เน้นการแก้ปัญหาโดยรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการค้าเสรี-การลงทุนจากต่างประเทศ และซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเอกชนและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังเน้นการลดอัตราการเกิดของประชากร แนวคิดนี้ปรากฏแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย ฉบับที่ 1-4 แบบใหม่ (ค.ศ. 1960-1980) • เน้นการสร้างความเจริญด้านอุตสาหกรรม ควบคู่กับการแก้ปัญหาการกระจายรายได้และความยากจนในชนบท และให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น สังคม วัฒนธรรม และการเมืองด้วย แนวคิดนี้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยฉบับที่ 5-7 แบบพึ่งตัวเอง เน้นที่การพัฒนาประชากร และลดการพึ่งพิงประเทศพัฒนาแล้ว การก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NEW INDUSTRALIZED COUNTRIES, NICs) ปัจจัยที่ส่งเสริม เช่น การใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น และเน้นการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้น มีแรงงานมาก การประกอบการที่ดี มีธุรกิจแบบบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนได้มาก ๆ เน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ มีประชากรที่มีคุณภาพ เกณฑ์ในการวัดความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ สัดส่วนสาขาเศรษฐกิจแบบหัตถอุตสาหกรรมเทียบกับ GDP ร้อยละ 20 ขึ้นไป สัดส่วนการจ้างงานในสาขาหัตถอุตสาหกรรม ร้อยละ 25 ขึ้นไป รายได้ต่อหัว 1,800 ดอลล่าร์สหรัฐขึ้นไป สัดส่วนของการออมต่อ GDP มากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป ระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการผลิต มีการใช้เทคนิควิทยาการชั้นสูง
ข้อผิดพลาดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
1. การมุ่งกิจการเพื่อศักดิ์ศรีของประเทศ หรือกิจกรรมที่ไม่ได้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในประเทศ
2. การมุ่งสร้างสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความก้าวหน้าทางสังคม
3. การสร้างกิจกรรมเพื่อผลประโยชน์ของประเทศอุตสาหกรรม เช่นย้ายโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสารพิษมาตั้งในประเทศกำลังพัฒนา
ทุนนิยม
-
เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
-
การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย
-
ผลิตเพื่อผลกำไร
-
ตั้งราคาสินค้าโดยอาศัยอุปสงค์และอุปทานในตลาด
-
ธุรกิจดำรงอยู่ด้วยการแข่งขัน
สังคมนิยม
-
รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
-
รัฐควบคุมการตัดสินใจทางธุรกิจ
-
ผลิตเพื่อความผาสุกของสังคมโดยส่วนรวม
-
รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า
-
รัฐเป็นผู้ตรวจสอบการดำเนินการของอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น